การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

Main Article Content

อรพรรณ ลีลาวงศ์กิจ
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการหรือกระบวนการในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือข่ายของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ(District Health Board : DHB) อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ว่าแก้ไขในลักษณะบูรณาการหรือไม่ และอย่างไร โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) อันประกอบด้วย 1) ตัวแทนภาครัฐ  2) ตัวแทนภาคเอกชน และ 3) ตัวแทนภาคประชาชน แล้วนำข้อมูลที่ได้จากเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ถูกต้องแม่นยำและมีความสอดคล้องกัน


            ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า วิธีการหรือกระบวนการในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือข่ายของ พชอ. อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ยังขาดการบูรณาการ ส่งผลให้การดำเนินงานในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้ เนื่องจากบุคลากรของแต่ละหน่วยงานที่อยู่ในเครือข่าย ยังมีข้อจำกัดด้านความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ ตลอดจน มีข้อจำกัดด้านงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีลักษณะแยกส่วนกัน และไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ซึ่งหากแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ก็จะส่งผลให้ พชอ. เป็นคณะกรรมการที่มีศักยภาพ และสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาบริการสาธารณสุขในเชิงบูรณาการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จอน อึ๊งภากรณ์. (2562). ปาฐกถา จากหลักประกันสุขภาพ เดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการครบวงจร.สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. จาก https://www.hfocus.org/content/2019/01/16736

เจษฎา โชคดำรงสุข.(2560). สธ.ตั้งเป้าปี 61 ทุกอำเภอมี คกก.พัฒนาคุณภาพชีวิต หลังนำร่อง 200อำเภอได้ผลดี.สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2562. จาก https://www.hfocus.org/content/201711/15001

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และพิริยะ ผลพิรุฬห์. (2550). ความสุขกายสบายใจของคนเมือง. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562. จาก https://www.ipsr.mahidol.ac.th

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2561). สธ. หนุนวิจัย R2R ยกระดับบุคลากรสุขภาพพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562. จาก https://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/48325

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2562). เชื่อมมติสมัชชาสุขภาพชาติ – พชอ. ยกระดับ – พัฒนาคุณภาพชีวิตทุกอำเภอทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2562. จาก https://www.hfocus.org/content/2019/03/16918

รสริน วงศ์คำปัน, พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 1(1). 220–236.

ภูดิท เตชาติวัฒน์. (2561). โครงการวิจัย เพื่อการสังเคราะห์ทางเลือกของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 3. วิทยานิพนธ์สาขาสาธารณสุขศาสตร์. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2542). ผู้สูงอายุในประเทศไทย : แนวโน้ม คุณลักษณะ และปัญหา.สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. จาก https://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/ statics/about/soongwai/topic004.php

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2557). เขตสุขภาพ : เห็นด้วยหรือคัดค้าน ?. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2562. จาก https://hsri.or.th/researcher/media/news/detail/5960

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559). 5ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับชาติโจทย์ใหญ่ท้าทายพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2562.จาก https://tdri.or.th/2016/08/2016-08-14/