วัฒนธรรมองค์กรการบริหารโรงเรียนอำเภอเมืองสรวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Main Article Content

ชูชาติ บุญบรรลุ
ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี
กฤตยากร ลดาวัลย์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรการบริหารโรงเรียน 2)เปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรการบริหารโรงเรียน 3)ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรโรงเรียนในอำเภอเมืองสรวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรโรงเรียนในอำเภอเมืองสรวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test)


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การนำไปใช้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรการบริหารโรงเรียนในอำเภอเมืองสรวง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกรูปแบบ 2. การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรการบริหารโรงเรียนในอำเภอเมืองสรวง ที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายรูปแบบไม่แตกตางกัน และเมื่อเปรียบเทียบตามประสบการณ์การทำงานต่างกันโดยรวมและรายรูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัวไม่แตกต่างกัน 3. สภาพปัญหาวัฒนธรรมองค์กรโรงเรียนในอำเภอเมืองสรวง คือ 1)การจัดสรรงบประมาณในการจัดหาสื่ออุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนไม่เพียงพอกับความต้องการของครูผู้สอน 2)บุคลากรไม่ยอมรับวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ขาดความคล่องตัวในระบบการทำงานและ 3)การแบ่งงานหน้าที่ความรับผิดชอบและภาระงานไม่เท่าเทียมกัน ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถของบุคลากรทำให้การทำงานบางอย่างไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรโรงเรียนในอำเภอเมืองสรวง คือ 1)ควรแบ่งภาระงานให้เท่าเทียมกันและตรงตามความรู้ความสามารถของบุคลากรแต่ละคน 2)ควรปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับสถานการณ์อยู่เสมอ และ 3)ควรเน้นความสามัคคี  ความรับผิดชอบ  และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อสนับสนุนให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

จุรีพร ปิยะโสภาสกุล. (2556). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา อำเภอบ้านบึงจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิน โพธิ์ศรี, สัมฤทธิ์ แก้วสมบัติ, กุศล ศรีสารคาม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(2). 88-98.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์บียอนด์บุ๊คส์.

ภูมินทร์ วงศ์พรหม, กุศล ศรีสารคาม, สัมฤทธิ์ แก้วสมบัติ. (2561). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1). 187-200.

ราเชนทร์ แก้วพิทักษ์. (2557). รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมยศ แสงผุย, เอนก ศิลปนิลมาลย์, กฤตยากร ลดาวัลย์. (2561). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(2). 31-41.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. จังหวัดร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

สุพิชญา ประมาคะมา, จำนง กมลศิลป์, อุทัย กมลศิลป์. (2561). ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1). 119-131.