แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 600 คน จากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 362.35 ที่องศาอิสระเท่ากับ 59 ระดับความมีนัยสำคัญ (P–Value) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนี Tucker-Lewis Index เท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า ( RMSEA ) เท่ากับ 0.08 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (SRMR ) เท่ากับ 0.03
Article Details
References
ชื่นนภา นิลสนธิ และคณะ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะด้านการพัฒนาการฟื้นฟูจิตวิญญาณ: ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิภาพร ปาวพรม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับความจงรักภักดีของลูกค้าแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 18(1). 31-50.
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ. (2553). การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 4. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และคณะ. (2559). การพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Becker, B. E., Huselid, M. A., Becker, B. E., &Huselid, M. A. (1998). High performance work systems and firm performance: A synthesis of research and managerial implications. In Research in personnel and human resource management. Greenwich, CT : JAI Press.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & William, C. Black (1998). Multivariate data analysis: Upper Saddle River. New Jersey : Prentice Hall.
Al Mamun, A., & Mitra, S. (2012). A methodology for assessing tourism potential: case study Murshidabad District, West Bengal, India. International Journal of Scientific and Research Publications. 2(9). 1-8.
Moswete, N., Saarinen, J., & Monare, M. J. (2015). Perspectives on Cultural Tourism: A Case Study of Bahurutshe Cultural Village for Tourism in Botswana. Nordic Journal of African Studies. 24(3&4). 279-300.
Qu, H., Kim, L. H., & Im, H. H. (2011). A model of destination branding: Integrating the concepts of the branding and destination image. Tourism management. 32(3). 465-476.
Rahman, W. (2012). Cultural tourism and Bangladesh: An overview. Bangladesh Research Publications Journal. 7(1). 6-15.
R.E. Schumacker, R.G. Lomax. (1996). A beginner's guide to structural equation modeling. Lawrence Erlbaum Associates, Mahwah, NJ.
Smith, M. K. (2015). Tourism and cultural change. The Routledge handbook of tourism and sustainability. 175-184.