บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมให้ครูใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง สำหรับการวิจัย

Main Article Content

นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมให้ครูใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทางสำหรับการวิจัย  ดังนี้  1)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูทราบถึงความจำเป็นในการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง  2)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของตัวแปรสาเหตุและตัวแปรตามจะต้องเป็นตัวแปรวัดได้ใช้ในมาตราอันตรภาคขึ้นไป  3)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์เส้นทาง  4)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนากรอบแนวคิดของการวิจัยด้านการบริหารการศึกษา  จากการศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษา  และกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย  5)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างโมเดลจำลองเชิงสมมติฐานเบื้องต้นจากกรอบแนวคิดการวิจัย  6)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโมเดลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  และ  7)  ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์  และสรุปผลการวิจัย  อภิปรายผล  ให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

Article Details

How to Cite
เปี่ยมพืชนะ น. (2020). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมให้ครูใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง สำหรับการวิจัย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(1), 493–507. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/242181
บท
บทความวิชาการ

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

คุรุสภา. (2555). ข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2557). แนวทางการใช้การวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุในการวิจัยด้านหลักสูตรและการสอน. วารสารราชพฤกษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 12(3). 1-9.

นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2559). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารราชพฤกษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(1). 25-35.

นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 12(2). 153-169.

นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2562). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 19(1). 425-446.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 ชลบุรี : สำนักพิมพ์ลักษณ์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา แนวคิดกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. (2556). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. .(2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ล.

สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทฤษฎีและปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สุทธนู ศรีไสย. (2559). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Draft, R.L. (2003). Management. 6th ed. Australia : Thomson South-Western.

McGregor, Douglas. (1960). The Human Side of Enterprise. New York : Mc Grow Hill.

Wright,S. (1934). The Method of Path Coefficients. Annals of Mathematical Statistics. 5(3). 161-215.