พัฒนาการสิทธิพลเมืองของกลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติ (ก๊ก มิน ตั๋ง) และกลุ่มอดีตพรรคคอมมิวนิสต์มลายา

Main Article Content

วฤณดา วงศ์โรจน์
นิพนธ์ โซะเฮง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของรัฐบาลไทยต่อกลุ่มอดีตทหารจีน    คณะชาติ (ก๊ก มิน ตั๋ง) และกลุ่มอดีตพรรคคอมมิวนิสต์มลายาเมื่อได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว ซึ่งนำไปสู่การเกิดสถานภาพทางบุคคลใหม่ของทั้งสองกลุ่มและเพื่อศึกษาการได้มาซึ่งสิทธิพลเมืองของกลุ่มบุคคลดังกล่าวตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า รัฐบาลไทยใช้นโยบายในการจัดการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ  2 อย่าง ได้แก่ นโยบายด้านการควบคุมและปกครองที่มุ่งเน้นด้านความมั่นคงของประเทศเป็นหลักโดยใช้ฝ่ายทหารเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบกับนโยบายการบูรณาการชาติด้านเศรษฐกิจ โดยการให้ที่ดินทำกินในครอบครัวละ 15 ไร่ เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความมั่นคงด้านอาชีพ  ในขณะเดียวกันด้านสังคมและวัฒนธรรม รัฐบาลไทยใช้นโยบายการผสมกลมกลืนความเป็นไทยเพื่อให้กลุ่มดังกล่าวสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยได้ง่ายขึ้นแต่กลุ่มดังกล่าวก็ยังสามารถรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนเองได้อย่างเสรีและในด้านสิทธิพลเมืองที่ให้แก่กลุ่มดังกล่าวหลังจากที่ได้กลายเป็นประชากรของรัฐไทยแล้วการได้รับสิทธิพลเมืองเป็นไปตามหลักการรับรองและให้ความคุ้มครองสิทธิของพลเมืองที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ  ซึ่งประกอบด้วย สิทธิในสัญชาติ เสรีภาพในการเดินทางและเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ เสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และสิทธิทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ในขณะปัจจุบันบุคคลทั้งสองกลุ่มยังคงประสบปัญหาด้านสิทธิในสัญชาติ เสรีภาพในการประกอบอาชีพ  และสิทธิทางการเมืองบางอย่าง  เนื่องจากรัฐบาลไทยยังคงจำกัดขอบเขตของสิทธิดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติและงานด้านความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนะ ประกาศวุฒิสาร. (2546). ทหารจีนคณะชาติ(ก๊กมินตั๋ง) ตกค้างทางภาคเหนือในประเทศไทย. เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามรัตนพริ้นติ้ง.

กิตติ รัตนฉายา. (2538). ดับไฟใต้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดวงแก้ว บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

ชุติ งามอุรุเลิศ และรุ่ง ศรีสมวงษ์. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการแปลงสัญชาติเป็นไทย : ศึกษากรณีคนไร้สัญชาติ. MFU Connexion Journal of Humanities and social Sciences. 8(1). 345-369.

ชัยโชค จุลศิริวงศ์. (2541). ปัญหาของชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าและจีนฮ่อในประเทศไทย เอกสารการสอนชุดวิชาปัญหาการเมืองส่วนภูมิภาคและชนกลุ่มน้อยในหน่วยที่ 10. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธานินทร์ ผะเอม. (2527). นโยบายการแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิ่นธเนศ แก้วรุ่งฟ้า. (2556). ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของคนต่างด้าวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศึกษากรณีสิทธิมนุษยชนกับสิทธิพลเมือง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. คณะนิติศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2543). ปัญหาการยอมรับให้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติแก่คนต่างด้าว. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์ พลศักดิ์ จิรไกรศิริ และธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2525). การศึกษาเปรียบเทียบผู้อพยพทางบกในค่ายอพยพคนลาว คนเขมร และคนเวียดนาม. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Charoenwong, Kaemmanee. (2004). Evacuation of the Nationalist Chinese (Kuomintong/ KMT) Troops in Northern Thailand from the 1950s to Today. Retrieved 4 April 2020. จาก https://icu.repo.nii.ac.jp/index.php? action=pages_view_main&active_action=repository_view_main_item_snippet&pn=1&count=20&order=16&lang=japanese&creator=charoenwong+kaemmanee&page_id=13&block_id=28

Peng, Chin. (2003). My side of History. Singapore : Media Masters Pte Ltd.

Taylor, H. Robert. (1973). Foreign and Domestic Consequences of the KMT Invention in Burma. data paper : number 93 Southeast Asia Program Department of Asian Studies. New York : Cornell University.