รูปแบบการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีทรัพยากรทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีทรัพยากรมนุษย์และความได้เปรียบทางการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบบลำดับขั้นตอนเชิงสำรวจ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาบริบทของธุรกิจสโมสรฟุตบอล วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ โดยศึกษาจากงบการเงินตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2562 และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้บริหารสโมสรไทยพรีเมียร์ลีก กลุ่มนักลงทุน กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มแฟนคลับ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า การเปิดเผยข้อมูล การบัญชีทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานในการวางแนวคิด ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาและทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีทรัพยากรมนุษย์และความได้เปรียบทางการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลอาชีพมีวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับนักฟุตบอลที่ต่างกัน เนื่องจากวิธีปฏิบัติทางการบัญชีนักฟุตบอลยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีเฉพาะเรื่องประกาศใช้รูปแบบวิธีปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับนักฟุตบอลที่สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน รูปแบบที่ 2 ลูกหนี้ และรูปแบบที่ 3 ค่าใช้จ่าย สำหรับการเลือกรูปแบบของวิธีปฏิบัติทางบัญชีนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละสโมสร 2. รายการข้อมูลการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ที่ควรเปิดเผยของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย จำนวน 40 รายการข้อมูล ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1)นโยบายทรัพยากรบุคคล(นักฟุตบอล) 2)ข้อมูลพื้นฐานทรัพยากรมนุษย์ 3)ข้อมูลทางการเงิน 4)การให้ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร 5)สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน 6)การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 7)ความสัมพันธ์ของทรัพยากรมนุษย์และวัฒนธรรม ควรเปิดเผยผ่านงบการเงิน เว็บไซต์ และเฟสบุ๊ค ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการเงินที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 3. ระดับการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์(ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ(ROE) ในขณะที่ระดับการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์กับอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม(IN) และอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(D/E Ratio)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). ธุรกิจด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงพาณิชย์.
กิตติคุณ บุญเกตุ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (สถิติประยุกต์). กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชาญวิทย์ ผลชีวิน และคณะ. (2557). ยุทธศาตร์เพื่อการพัฒนาไปสู่ความสำเร็จของฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย. วารสารคณะพลศึกษา. 4(3). 93-103.
นฤนาถ ไกรนรา และเนติพล เพชรสีนวล. (2562). พฤติกรรมการชมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขัน ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกไทยแลนด์(T1) ของแฟนบอลสโมสรแบงค็อกยูไนเต็ด. งานประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต. 25-26 เมษายน 2562. 1546-1554.
ลลิตา หนุเจริญกุล. (2560). การเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ระหว่าง สโมสร ฟุตบอลอาชีพประเทศไทยและสโมสรฟุตบอลอาชีพประเทศอังกฤษ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bonini, S. (2011). The business of sustainability: McKinsey Global Survey results. Retrieved 15 January 2019. From htpp://www.mckinsey.com/business-functions/ sustainablility
Dostaler, I., Flouris, T., (2006). Stuck in the middle revisited: the case of the airline industry. J. Aviat. Aero.Educ. Rec. 15(2). 33-45.
Economic Intelligence Center. (2562). ทีมไทยลีกมาไกล แต่ยังไม่ไกลระดับโลก. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product
IIRC. (2018). Integrated reporting: the international framework. Retrieved 14 November 2018. From https://intergratedreporting.org/wp-content/uploads
Kılıç, M., &Kuzey, C. (2018). Assessing current company reports according to the IIRC integrated reporting framework. Meditari Accountancy Research. 26(2). 305-333.
Lev, B., & Penman, S. (1990). Voluntary Forecast Disclosure, Nondisclosure, and Stock Prices. Journal of Accounting Research. 28(1). 49-76.
Leyiry Christian Micach , Clifford O. Ofurum and John U. Ihendinihu (2012). Firms Financial Performance and Human Resource Accounting Disclosure in Nigeria. International Journal of Business and Management. 7(14). 67-75.
Lu, L., Leung, K., & Koch, P. (2006). Managerial Knowledge Sharing: The Role of Individual, Interpersonal, and Organizational Factors. Management and Organization Review. 2(1). 15-41.
Moir Loren and LohmannGui. (2018). A quantitative means of comparing competitive advantage among airlines with heterogeneous business model: Analysis of U.S. airlines with heterogeneous business models: Analysis of U.S. airlines. Journal of Air Transport Management. 69(C). 72-82.
Penningtion, J. D. (2017). Developing a strong organizational culture to create a sustainable competitive advantage : A case study of winning college football coaches. A Dissertation Presented i Partial Fulfillment of the Requirements of the Degree Doctor of Philosophy.
Porter P.S. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York : Free Press.
Szymoszowskyj, A., Winand, M., Kolyperas, D., & Sparks, L. (2016). Professional football clubs retail branding strategies. Sport, Business and Management: An International Journal. 8(3). 35-48.
Ullah, M. H., &Karim, M. T. (2015). Human resource disclosure in annual report of the listed banking companies in Bangladesh. Global Journal of Quantitative Science. 2(1). 7-19.