ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระทางการคลังการตอบสนองความต้องการของประชาชน และความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

ธีรภัทร์ เศวตวงศ์
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นอิสระทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่ามีความสัมพันธ์ต่อ 1)การตอบสนองความต้องการของประชาชน 2)ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของผู้บริหารท้องถิ่นที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหรือไม่ เก็บข้อมูลการประเมินของประชาชนผู้ที่เคยไปใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติและค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน


           ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง 1)อิสระและเสรีภาพทางการคลังซึ่งหมายถึง ความเป็นอิสระในการจัดเก็บหรือหารายได้และการจัดสรรงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยปราศจากการแทรกแซงของส่วนกลางกับ 2)ศักยภาพในการดำเนินการตามนโยบายแผนงานและโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และ 3)การแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำใดๆ ของผู้บริหารท้องถิ่นในภาพรวมมิติทั้งสามมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกขนาดของความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางและแปรผันในทิศทางเดียวกัน จึงสามารถสรุปได้ว่า หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระและเสรีภาพทางการคลังจะส่งต่อผลคุณภาพการให้บริการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนหรือประชาชนตลอดจนการแสดงออกให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้บริหารท้องถิ่นที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน    

Article Details

How to Cite
เศวตวงศ์ ธ., & คำนวณศิลป์ พ. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระทางการคลังการตอบสนองความต้องการของประชาชน และความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 599–611. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/244404
บท
บทความวิจัย

References

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการกระจายอำนาจของไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

จตุรภัทร จันทร์ทิตย์ และจิราภรณ์ เรืองยิ่ง. (2562). ระดับความเป็นอิสระทางการคลัง : ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่. 11(1). 249-268.

เฉลิมพล สารีบุตร. (2556). การแทรกแซงของรัฐบาลกลางต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการและเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(3). 151-170.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดการบริการสาธารณะที่ดี. กรุงเทพมหานคร : สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิดารัตน์ สืบญาติ. (2558). ความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในเขตจังหวัดปริมณฑล

ของกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 13(3). 122-144.

บรรเจิด สิงคะเนติ และดารุณี พุ่มแก้ว. (2560). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมิติปัญหาทางการคลัง. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 15(2). 3-25.

ปัณณทัต นอขุนทด. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิชชุกร นาคธน. (2562). ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(2). 167-179.

วีรศักดิ์ เครือเทพ. (2555). กลยุทธ์การปรับตัวทางการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ภาวะวิกฤต. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2554). ความเหลื่อมล้ำทางการคลังของเทศบาลบทสำรวจปรากฏการณ์ “ใครมีเงินมาก ยิ่งได้มาก”. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. 2(4). 18-42.

Abdulwaheed, S & Samihah, K. (2012). Decentralization: Catalyst for Welfare Service Delivery by local Government Administration. Journal of Public Administration and Governance. 2(4). 43-56.

Ankamah, S.S. (2012). The Politics of Fiscal Decentralization in Ghana : An Overview of the Fundamentals. Public Administration Research. 1(1). 33-41.

Burchell, Robert W., and David Listokin(eds). (1981). Cities under Stress: The Fiscal Crises of Urban America. The Center for Urban Policy Research : Rutgers. State University : New Jersey Press.

Fieno, J. V. (2004). Federalism, decentralization and the welfare state in comparative perspective. Master thesis for master degree. University of Wisconsin-Madison in USA.

Oates, W. (1972). Fiscal Federalism. New York : Harcourt Brace Jovanovich.

Tiebout, C.M. (1956). A Pure Theory of Local Expenditure. The Journal of Political Economy. 64(5). 416-424.