การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของร่างกายด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยในประชาชนหญิงอายุ 20-35 ปี

Main Article Content

อัลเลียตส์ บือแนดามา
รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน
ก้องเกียรติ เชยชม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของร่างกายด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยในประชาชนหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนหญิง อายุ 20-35 ปี ซึ่งเข้าร่วมโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของเทศบาลนครภูเก็ต จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง สมการสำหรับคำนวณหาความหนาแน่นของร่างกายตามวิธีการของแจ๊คสันและพูลล๊อคตลอดจนสมการพื้นฐานสำหรับคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายตามวิธีการของซีรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำและการเปรียบเทียบพหุคูณตามวิธีการของบอนเฟอร์โรนี โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          ผลการวิจัยพบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของประชาชนหญิง อายุอายุ 20-35 ปีก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 37.54 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.50 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.49 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.75 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.18 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของประชาชนหญิงอายุ 20-35 ปี ระหว่างก่อนการฝึก กับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 กับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ระหว่างก่อนการฝึก กับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บือแนดามา อ., เต็งกูสุลัยมาน ร., & เชยชม ก. (2020). การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของร่างกายด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยในประชาชนหญิงอายุ 20-35 ปี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 488–498. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/244436
บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ภักดีวาณิช. (2562). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล กระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2540). หลักการฝึกซ้อมกีฬา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชาญลักษณ์ เยี่ยมมิตร. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2554. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และสิทธา พงษ์พิบูลย์. (2554). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทุม ม่วงมี. (2527). รากฐานทางสรีรวิทยาของการออกกำลังกายและการพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บูรพาสาส์น.

มนต์รักษ์ เลิศวิลัย. (2550). ผลการฝึกกายบริหารท่าแม่ไม้มวยไทย 2 รูปแบบที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วารี สายันหะ. (2546). พฤติกรรมการสร้างสุขภาพด้านการออกกำลังกายของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง กิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิวัฒน์ กาญจนะ. (2551). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2551. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

เสก อักษรานุเคราะห์. (2534). การออกกำลังกายสายกลางเพื่อสุขภาพและชะลอความแก่. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cooper, K. H. & Mildred, C. (1988). The New Aerobic for Woman. New York, NY : Bantam Book.