แนวทางการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการบริหารของสถานศึกษา 2)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้  ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความต้องการจำเป็นของการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยี ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือด้านการบริหารงานวิชาการ 2. แนวทางการจัดระบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 1)ด้านการบริหารงานทั่วไป คือ ผู้บริหารควรจัดระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศการทำสำมะโนผู้เรียนที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง 2)ด้านการบริหารงานบุคคลผู้บริหารควรจัดระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรในสถานศึกษา  เพื่อวางแผนอัตรากำลังและจัดสรรบุคลากรที่เพียงพอและเหมาะสมกับลักษณะงาน 3)ด้านการบริหารงานงบประมาณผู้บริหารควรจัดระบบการตรวจสอบติดตาม  และรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ เพื่อประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของสถานศึกษา และ 4)ด้านการบริหารงานวิชาการผู้บริหารควรจัดระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ระหว่างการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบปกติโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : สำนักพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิตราภรณ์ อนันตภูมิ และนิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 9(1). 103-111.

ชริสา พรหมรังสี. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระคุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ณิชารีย์ เหลืองอร่าม. (2562). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ธีรวัฒน์ แสงสว่าง. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นภาวรรณ สุขดี และพรเทพ รู้แผน. (2559). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 3(3). 39-46.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.

สุวดี เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสถานศึกษาต้นแบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อินทิรา ชูศรีทอง ไชยา ภาวะบุตร และวัฒนา สุวรรณไตรย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 11. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1). 98-112.

Cordell, R. (2013). Information Literacy and Digital Literacy: Competing or Complementary. Communication in Information Literacy. 7(2). 177-183.

Dermir, K. (2008). Transformational Leadership and Collective Efficacy: The Moderating roles of Collaborative Culture and Teachers’ Self-Efficacy. Egitim Arastrirmalari-Eurasian Journal of Educational Research. 33(1). 93-112.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo : Harper International Edition.