ผลการใช้เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

ธิติสรณ์ สุ่มมาตย์
สุวรรณี ยหะกร
ศุภวรรณ์ เล็กวิไล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียน โดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี (2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านวิชาภาษาไทย (3) แบบวัดความสามารถด้านการเขียนวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบหาค่าที


           ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ ซี ไอ อาร์ ซี มีความสามารถด้านการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ ซี ไอ อาร์ ซี มีความสามารถด้านการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สุ่มมาตย์ ธ., ยหะกร ส., & เล็กวิไล ศ. (2020). ผลการใช้เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 137–145. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/247209
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กองเทพ เคลือบพณิชยกุล. (2551). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

จุฬาลักษณ์ กองพิลา. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุนธาการพิมพ์.

โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา. (2558). หลักสูตรสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา.

เสาวลักษณ์ ชัยฤทธิ์, ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์, สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านจับใจความ ความสามารถในการเขียนสรุปความและเจตคติต่อทักษะทั้งสองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4. 20 มกราคม 2562. 1-12.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2531). เอกสารคำสอนหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning : Theory. Massachuhusetts : A Simon and Schuster Company.