แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

Main Article Content

อรุณรัศมี พิฆาตไพรี
นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ 2)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น 3)เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


           ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก 2)ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านที่มีความสำคัญมากที่สุดคือด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้รองลงมาคือด้านการบริหารหลักสูตรด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาส่วนด้านที่มีความสำคัญน้อยที่สุดคือด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ 3)แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4  ดังนี้ 1)ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน ให้คำปรึกษาเสนอแนะ เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม 2)ด้านการบริหารหลักสูตร คือ การมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3)ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม 4) ด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ คือ การมีส่วนร่วมในการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกของสถานศึกษา เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก่นนคร พูนกลาง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2561. จาก https://www.gotoknow.org/posts/344746

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(3). 95-112.

นัฐรียา ฉัตรรักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ปลื้มพร ประไพพงษ์. (2556). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครจังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 6(2). 90-98.

วรวุฒิ ต๊ะคำวรรณ์. (2558). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

วันวิสาข์ ด้วงสีนวล. (2560).การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 12 ในจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2560). แผนปฏิบัติประจำปีงบประมาณ 2561. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุกัญญา ตลอดภพ. (2558). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

สุจิตรา จรทะผา และคณะ. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานโรงเรียนเนินลาดวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โสภิตา ปลอดภัย. (2556). การศึกษาบทบาทกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายสมุย1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อิสรพล ปิ่นขจร. (2556). การศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.