โมเดลความเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมชั้นต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้ความเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมชั้นต้นไทยเปรียบเทียบมาตรฐานสากล 2)เพื่อสร้างกรอบแนวคิดการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้โมเดลความเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมชั้นต้นที่เหมาะสมกับบริบทของไทย เป็นการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าวิจัยเอกสารวิชาการ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างกรอบแนวคิดการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้โมเดลความเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมชั้นต้น
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นเลิศที่เหมาะสมในการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมชั้นต้นของไทยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมีองค์ประกอบ 4 มิติ 80 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1)มิติปัจจัยนำเข้าการอำนวยความยุติธรรม 2)มิติกระบวนการจัดการ 3)มิติผลิตภาพของการอำนวยความยุติธรรม 4)มิติผลกระทบของการอำนวยความยุติธรรม 2. กรอบแนวคิดการวิจัยเน้นแนวคิดหลักเป็นปัจจัยนำเข้า 4 ด้านคือ 1)มาตรฐานสากลด้านการอำนวยความยุติธรรมของสมาคมนานาชาติเพื่อความเป็นเลิศทางศาล 2)องค์การตุลาการในอนาคต 3)กรอบการดำเนินงานสากลเพื่อความเป็นเลิศทางการศาลและ 4) การบริหารจัดการคดีเพื่อความเป็นเลิศทางศาลในยุคปัจจุบันสำหรับกระบวนการเน้นหลักการบริหารจัดการ กระบวนพิจารณาคดี ความเป็นอิสระและจริยธรรมของตุลาการ ส่วนผลิตภาพเน้นหลักประหยัดและเข้าถึงได้ ความเชื่อมั่น ค่านิยมทางการศาล และการป้องกันการทุจริต และผลกระทบเน้นความต้องการและจำเป็นในการให้บริการทางศาล อาคารสถานที่ บุคลากรผู้ให้บริการ กระบวนการให้บริการวัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยี ค่าธรรมเนียมศาลและความไว้วางใจและเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลผลการวิจัยครั้งนี้ควรใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงปริมาณหาความสัมพันธ์เชิงสถิติเพื่อสร้างโมเดลความเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรมชั้นต้น มีการทดลองใช้ในศาลยุติธรรมชั้นต้นที่เป็นพื้นที่ต้นแบบและประเมินยืนยันโมเดลแล้วพัฒนาต่อยอดให้สามารถนำไปใช้กับศาลยุติธรรมชั้นต้นทั่วประเทศต่อไป
Article Details
References
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2561). สรุปผลการดำเนินงานสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562. จาก http://www.rlpd.go.th/ rlpdnew/images/rlpd
สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. (2558). แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติพ.ศ. 2558-2561. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562. จาก http://phitsanulok.moj.go.th/wp- content/pdf/model%20scheme.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับสิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562. จาก http://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2560). รายงานสถิติคดีของศาลทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2550 2559 และ 2560. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2562. จาก https://www.coj.go.th/home/ index.html
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Knowledge. (2018). 5 กระแสเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คน. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562. จาก https://storylog.co/story/5ab
The United Nations in Thailand. (2018). Sustainable Development Goals–SDGs. Retrieved 3 January 2019. From https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals
UNDP Indonesia. (2019). The Judicial Integrity Champions Second Network Meeting 25-26 March 2019 JAKARTA, INDONESIA “THE PATH TOWARDS JUDICIAL EXCELLENCE”. Retrieved 3 January 2019. From http://www.courtexcellence.com/ICCE/Judicial Integrity
UNDP Indonesia. (2019). The Judicial Integrity Champions Second Network Meeting 25-26 March 2019 JAKARTA, INDONESIA “THE PATH TOWARDS JUDICIAL EXCELLENCE”. Retrieved 3 January 2019. จาก http://www.courtexcellence. com/ICCE/ Judicial Integrity
United Nations Development Programme by Sofie Arjon Schütte, Paavani Reddy and Liviana Zorzi. (2016). A Transparent and Accountable Judiciary to Deliver Justice for All. Retrieved 20 January 2019. From https://www.u4.no/publications/a-transparent-and-accountable-judiciary-to-deliver-justice-for-all.pdf