การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธี

Main Article Content

พระครูกิตติวราทร
พระครูพิศิษฏ์ธรรมนิเทศ
พระครูวิกรมธรรมธัช
จิราภรณ์ ผันสว่าง
ปิยะสุดา เพชราเวช
อมรรัตน์ ผันสว่าง
ระพีพัฒน์ หาญโสภา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธี 2)เพื่อประเมินประสิทธิภาพและทดลองความสอดคล้องของรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธี การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่าง 1)การวิจัยเชิงปริมาณ และ 2)การวิจัยพหุกรณีศึกษาเป็นแบบดำเนินการคู่ขนานในประเด็นวิจัยเดียวกันทั้งเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาเอกสารหลักฐานซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์และอภิปรายผลร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ พื้นที่และเป้าหมายที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยลงพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1)ผู้บริหารและครู 2)เยาวชนนักเรียนนักศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ3)ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านเยาวชน จำนวน 20 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า โดยใช้กระบวนการวิจัยตามเทคนิคเดลฟาย


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างและพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธี ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทะเลาะวิวาทของเยาวชน พบว่า มี 2 สาเหตุหลัก คือปัจจัยส่วนบุคคลหรือปัจจัยภายใน คือ สาเหตุที่เกิดจากตัวของเยาวชนเอง และปัจจัยสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอก พบว่า มี 6 สาเหตุ ได้แก่ 1)สถาบันครอบครัว  2)สภาพแวดล้อม ชุมชน และสังคม 3)สถาบันการศึกษา 4)กลุ่มเพื่อนพี่น้อง 5)กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 6)สื่อสังคมออนไลน์ สำหรับรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธี พบว่า มี 8 แนวทาง ได้แก่ 1)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยบุคคล(เยาวชน) 2)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยครอบครัวหรือผู้ปกครอง 3)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยสังคมและสิ่งแวดล้อม 4)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยสถาบันการศึกษา 5)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยกระบวนการยุติธรรม และกฎหมาย 6)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยสื่อสังคมออนไลน์ 7)แนวปฏิบัติในการสนับสนุน ส่งเสริม และบำบัดฟื้นฟูภายหลังการเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทขึ้น 8)แนวทางการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทโดยพุทธวิธีตามหลักไตรสิกขา 2. ผลการประเมินประสิทธิภาพและทดลองความสอดคล้องของรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธีที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2549). วัยเด็กและวัยรุ่นในยุคไทยโลกาภิวัตน์ : ปัญหา ทางเลือกทางออก. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม.

จิรเดช เกตุประยูร. (2556). วิธีระงับความรุนแรงตามแนวคิดในทางพุทธศาสนาเถรวาท. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นพดล กรรณิกา. (2552). สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2560. จาก http://www.ryt9.com/s/abcp/524293

พรชัย ขันตี. (2553). ทฤษฎีอาชญาวิทยา : หลักการงานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : สุเนตรฟิล์ม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). ศึกษาฝึกฝนพัฒนาตน ให้สูงสุด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์.

พระมหามนตรี ประทุมวรรณ. (2551). การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นมาตรการป้องกันและลดวิกฤตปัญหานักเรียนตีกัน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ และนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2553). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน ตำบลหนองหลัก อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. Journal of Buddhist Education and Research. 5(2). 253-264.

พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ. (2561). การปฏิรูปการศึกษาให้ถูกทางตามหลักวิถีพุทธ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 18(1). 237-248.

ยิ่งภัสสร พิมพิสัย. (2555). ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. รายงานวิจัย. วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง.

วิชา มหาคุณ. (2551). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดการสร้างเครือข่าย-การส่งต่อ-การติดตามและประเมินผล เด็กเยาวชน ครอบครัว ชุมชนและสังคม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมทรัพย์ สุขอนันต์. (2546). วัยใส วัยเสี่ยง วัยวุ่น วัยแห่งความเสี่ยง เอกสารในการอบรม เรื่องแนวทางด้านจิตวิทยาชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาวัยรุ่น : การให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อป้องกันปัญหาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ( พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุดาพร สินประสงค์. (2550). สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันท์. (2548). บุคลิกภาพและพัฒนาการแนวโน้มสู่การมีพฤติกรรมปกติหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเด็กและเยาวชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.