ความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งเป้าหมายการรับรู้ความสามารถของตนเองและประสิทธิผลการฝึกซ้อมของนักกีฬายูโดโรงเรียนกีฬาในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการตั้งเป้าหมายของนักกีฬายูโดโรงเรียนกีฬาในประเทศไทย 2)เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักนักกีฬายูโดโรงเรียนกีฬาในประเทศไทย 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งเป้าหมาย การรับรู้ความสามารถของตนเอง และ ประสิทธิผลของการฝึกซ้อมของนักนักกีฬายูโดโรงเรียนกีฬาในประเทศไทย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักกีฬายูโดของโรงเรียนกีฬาในประเทศไทยที่มีการจัดการฝึกซ้อมกีฬายูโดทั้งหมดรวม 7 แห่ง ซึ่งนักกีฬาที่ทำการศึกษามีอายุระหว่าง 12-18 ปี และ มีประสบการณ์ด้านการฝึกซ้อมกีฬายูโดมามากกว่า 1 ปีขึ้นไป จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบและแบบประสิทธิผลการฝึกซ้อม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งเป้าหมาย การรับรู้ความสามารถของตนเองและประสิทธิผลการฝึกซ้อมของนักกีฬายูโดในโรงเรียนกีฬาในประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. นักกีฬายูโดของโรงเรียนกีฬาในประเทศไทยให้ความสำคัญและมีการตั้งเป้าหมายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. นักกีฬายูโดของโรงเรียนกีฬาในประเทศไทยให้ความสำคัญและมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ประสิทธิผลในการฝึกซ้อมของนักกีฬายูโดโรงเรียนกีฬาในประเทศไทยในการฝึกซ้อมของตนเองโดยภาพรวมในระดับมาก ทั้งนี้ ประสิทธิผลของการฝึกซ้อมของนักนักกีฬายูโดมีความสัมพันธ์ทางตรงกับการรับรู้ความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมาย
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). แผนการพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
ภาขวัญ ทัศนธนากร. (2558). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในระดับมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10(2). 422-431.
วัลภา สบายยิ่ง. (2542). ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายการรับรู้ความสามารถของตนเองและบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้จำหน่ายตรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Grant, Anthony M. (2012). An integrated model of goal-focused coaching: an evidence-based framework for teaching and practice. International Coaching Psychology Review. 7(2). 146-165.
Kendra Cherry. (2019). Self Efficacy and Why Believing in Yourself Matters Updated. Retrieved 7 October 2019. From https://www.verywellmind.com/what-is-self-efficacy-2795954
Kolbe, Kathy. (2009). Self-efficacy results from exercising control over personal conative strengths. Retrieved 7 October 2019. From https://web.archive.org/ web/201805120 44339/https://e.kolbe.com/knol/index.html
Locke, Edwin A.; Latham, Gary P. (2002). Building a practically useful theory of goal setting and task motivation: a 35-year odyssey. American Psychologist. 57(9). 705-717.
Schunk, Dale H. (1990). Goal Setting and Self-Efficacy During Self-Regulated Learning. Educational Psychologist. 25(1). 71-86.
Yoshie Iwasaki. et al. (2017). Exercise Self-Efficacy as a Mediator between Goal-Setting and Physical Activity: Developing the Workplace as a Setting for Promoting Physical Activity. Safety and Health at Work. 8(1). 94-98.