สภาวะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิต

Main Article Content

กุลภาค กว้างนอก
สุชาติ สุขนา
กนกวรรณ นิธิรัฐพัฒน์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิต และการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด 2)เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ ประเภทสื่อผสมวัสดุเหลือใช้และวัสดุพร้อมใช้สายไฟ ยางรถ โดยใช้เทคนิคผสมที่มีลักษณะเป็นเส้น เพื่อประกอบเป็น รูปทรงตามเจตนารมณ์ของผู้สร้างสรรค์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยตามหลักการเลือกใช้ชีวิตประจำวันและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การรวบรวมข้อมูลภาคสนามนอกพื้นที่รูปแบบสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง การทำภาพร่างสร้างสรรค์จากข้อมูลภาคสนาม การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยการเตรียมตู้เชื่อมเหล็กโครงสร้างเหล็กเส้น สายไฟ การสร้างผลงานจากข้อมูลภาคสนามที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปินมีการบันทึกเป็นภาพถ่ายมาวิเคราะห์หารูปทรงมุมมอง วาดเป็นภาพ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหาภาพร่างที่สมบูรณ์ตามขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีต่อชีวิตและการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตอยู่รอดพบว่า เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำเนินชีวิตปัจจุบันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการดำเนินชีวิตที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่เพื่อแสวงหาในทางพัฒนาด้านการปรับตัว ปรับสภาพเพื่อสร้างเกาะภูมิคุ้มกันปกป้องพัฒนาตนเองในการดำรงชีวิตปัจจุบัน 2)ผลการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสม 3 มิติ ประเภทสื่อผสมวัสดุเหลือใช้และวัสดุพร้อมใช้ สายไฟ ยางรถ รากไม้ โครงเหล็ก โดยใช้เทตนิคผสมที่มีลักษณ์เป็นเส้น เพื่อประกอบเป็นรูปทรง ตามเจตนาของผู้สร้างสรรค์พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานมีการจัดการวัสดุเหลือใช้และวัสดุพร้อมใช้งานถึงมีความแตกต่างกันแต่ก็สามารถมีความสอดคล้องซึ่งกันและกันแสดงให้เห็นถึงเอกภาพที่กลมกลืนของผลงานที่อยู่ร่วมกันได้ตามเจตนาของผู้สร้างสรรค์ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
กว้างนอก ก., สุขนา ส., & นิธิรัฐพัฒน์ ก. (2023). สภาวะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิต. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 12(1), 124–133. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/252072
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2549). เอกสารสอนชุดวิชาทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2541). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม (2562). เทคโนโลยีสำหรับการวิจัยในยุคสารสนเทศ:เครื่องมือสำหรับงานวิจัย. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564 จาก file:///C:/Users/User/Downloads/ 216046-Article%20Text-689609-1-10-20190913%20(1).pdf

ฐิตาภา ทินราช. (2558). ชื่อศิลปิน ฐิตาภา ทินราช. สืบคนเมื่อ 30 กันยายน 2563. จากhttps://www.posttoday.com/life/healthy/366829

มัย ตะติยะ. (2549). ประติมากรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : เอมี่ เทรดดิ้ง.

Angsumarin Poosimuang. (2015). เทคโนโลยี คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2563. จาก https://

sites.google.com/site/stangsumarin/assignment-6/thekhnoloyi-thi-mi-xiththiphl-tx-kar-danein-chiwit-khxng-mnusy