การวิเคราะห์ความสม่ำเสมอของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศไทย

Main Article Content

แพรวรี มั่นนทีรัย
ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์กุล
ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์กุล
สุรางค์ เห็นสว่าง
นิคม เจียรจินดา

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสม่ำเสมอของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน กลุ่มตัวอย่างเป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ณ ปลายปี 2563 จำนวน 274 กองทุน โดยเป็นกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล 100 กองทุน และนโยบายไม่จ่ายเงินปันผล 174 กองทุน ระยะเวลาศึกษา 5 ปี ในช่วง พ.ศ.2559-2563 ผลตอบแทนวัดในรูปกำไรขาดทุนการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและเงินปันผล การวิเคราะห์ความสม่ำเสมอของผลตอบแทนใช้ความสัมพันธ์ระหว่างอันดับในสองช่วงเวลา ซึ่งวัดจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและวัดความสม่ำเสมอของผลตอบแทนที่สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 3 เกณฑ์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET TRI        


           ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมกองทุนรวมตราสารทุนมีความสม่ำเสมอของผลตอบแทน เนื่องจากสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนในปี 2563 กับค่าเฉลี่ยในอดีต 2, 3 และ 4 ปี มีค่าเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลมีค่าสหสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยในอดีต 2 ปี ขณะที่กองทุนรวมที่มีนโยบายไม่จ่ายเงินปันผลมีค่าสหสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยในอดีต 2 ปีและ 3 ปี นอกจากนี้      ยังพบว่ากองทุนรวมที่มีผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย และมัธยฐาน มีความสม่ำเสมอมากกว่า กองทุนรวมที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ในทางตรงกันข้ามกองทุนรวมที่ผลตอบแทนต่ำกว่าเกณฑ์ SET TRI    มีความสม่ำเสมอมากกว่า จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า นักลงทุนควรใช้ข้อมูลผลตอบแทนในอดีตเฉลี่ย 2-4 ปี เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน และไม่ควรลงทุนในกองทุนรวมที่ผลตอบแทนในอดีต  ต่ำกว่า SET TRI เนื่องจากมีความสม่ำเสมอของผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์

Article Details

How to Cite
มั่นนทีรัย แ., สิริวัฒน์กุล ธ., สิริวัฒน์กุล ธ., เห็นสว่าง ส., & เจียรจินดา น. (2022). การวิเคราะห์ความสม่ำเสมอของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 11(1), 563–577. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/256149
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). เลือกกองทุนฉบับมือใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม2564. จาก www.setinvestnow.com

โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม.(2564). มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564.จาก www.thaimutualfund.com

ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล และคณะ. (2563). ประสิทธิภาพของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สเปียร์แมนและเคนดอลล์เมื่อข้อมูลแจกแจงแบบไม่ปกติ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 15(2). 1-16.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564 . จาก www.set.or.th

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ประเภทของกองทุนรวม. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. จากwww.set.or.th

ธนพร มีศิลป์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารทุน และกองทุนรวม อีทีเอฟ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการเงิน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน. (2563). ภาพรวมกองทุน. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2563. จากwww.aimc.or.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล.(2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท ส.เอเชียเพรส.