ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหาร 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหาร 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้สถิติ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารจำแนกตามเพศ บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหาร สรุปได้ ดังนี้ ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). ระเบียบว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ทิศนา แขมมณี และภาษิต ประมวลศิลป์ชัย. (2547). ประสบการณ์และกลยุทธ์ของผู้บริหารในการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : เมธีทิปส์.
พรรณราย ทรัพยะประภา. (2548). จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตและในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสถาพร วันนุกูล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองท้องถิ่นกับพระสงฆ์ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 34(4). 158-168.
พระอภิรัตน์ ฐิตวิริโย (ดาประโคน). (2560). ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภิญโญ ทองมี. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางจริยธรรมเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. (2562). รายงานประจำปี พ.ศ. 2562. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2554). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร : กองพุทธศาสนสถาน.