การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2)เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และ 3)เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของชาวบ้านด่านตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรเป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1. พญานาคในพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าพระพุทธศาสนาแยกพญานาคออกเป็น 1,024 ชนิด แบ่งเป็น 4 ตะกูล ตระกูลวิรูปักขะตระกูลเอราปักถะ ตระกูลฉัพยาปุตตะ ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคแบ่งตามสถานที่เกิด ได้ 2 แบบ คือ ที่เกิดได้เฉพาะในน้ำ ที่เกิดได้เฉพาะบนบก 2. ความเชื่อเรื่องพญาของชาวบ้านด่าน พบว่าพญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพและมีฤทธิ์สามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ให้ได้สมความปรารถนา มีการผสมผสานความเชื่อระหว่าง พุทธ-พราหมณ์-ผี เป็นที่เคารพบูชาและได้รับการยกขึ้นเป็นเจ้าพิธีกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดจริยธรรมขั้นพื้นฐานในการสร้างความสามัคคีและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชุมชนเป็นอย่างดี 3. การวิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร พบว่า ชาวบ้านด่านเชื่อในความมีอยู่ได้เป็นเหมือนเทพเจ้าและถูกยกขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อจะนำไปสู่การสร้างคุณธรรมให้กับชุมชน และประเพณีพิธีกรรมได้เป็นกลวิธีนำพาชาวบ้านเข้าสู่หนทางแห่งการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติพัฒน์ เพชรทอง. (2545). พุทธศาสนากับพญานาคศึกษาวิเคราะห์พญานาคในคัมภีร์พุทธศาสนาเถระวาทกับในวัฒนธรรมอีสาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
จิตรกร เอมพันธุ์. (2545). พญานาค เจ้าแห่งแม่น้ำโขง : พิธีกรรมกับระบบความเชื่อพื้นบ้านแห่งวัฒนธรรมอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน. (2549). พญานาคกับพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564. จาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18418
พระสมพร อนาลโย (2550). ความเชื่อเรื่องพญานาคในชุมชนคำชะโนด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีรพล พิสณุพงศ์. (2550). ความเชื่อเรื่องนาคมีมาก่อนพุทธกาล. กรุงเทพมหานคร : แสงศิลป์การพิมพ์.
ยมโดย เพ็งพงศา. (2521). ครุฑและนาคในวรรณคดีสันสฤตและบาลี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิษณุ ยะโสภา. (2559). ประวัติพญานาค. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. จาก http://wwwaaaw wwtttmyyy.blogsPot.com/2017/03/blog-post_94.html
วีเชียร นามการ. (2554). การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฏีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.