การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช

Main Article Content

นิภาวรรณ ราตรี
อธิกมาส มากจุ้ย
สมพร ร่วมสุข

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนวัดสุทธาราม สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เป็นการวิจัยทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง. (2559). ผลการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ

ผสมผสานวิธีของครูพณิชยกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติ บุญประกอบ. (2557). พัฒนาคน Action Learning กับ Coaching. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ณัฐกิตติ์ นาทา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์

วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดไนยา ตั้งอุทัยสุข และรงค์ จิรายุทัต. (2558). คู่มือการโค้ช. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บัดดี้ครีเอชั่น.

เทิดทูน ไทศรีวิชัย. (2562). หัวใจแห่งการโค้ช. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ

ลิชชิ่ง จำกัด.

บุษบา กาหล. (2554). การโค้ชเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

พัชรพรรณ เก่งการเรือ. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช เรื่อง จำนวนและการ

ดำเนินการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก.

กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2548). อ่านเป็น เรียนก่อน สอนเก่ง. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์

พับลิเคชั่นส์.

มิ่งขวัญธรรม ฉ่ำชื่นเมือง. (2550). ฉลาดอ่าน. กรุงเทพมหานคร : ต้นธรรม สำนักพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล.(2562). การโค้ชที่เน้น Concept. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า

ชาการจำกัด.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด นวสาส์นการพิมพ์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562).รายงานผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานของ

ผู้เรียนระดับชาติ(National Test : NT). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). รายงานผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2556). ทำไมต้อง Coach. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.