การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เรื่องกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2)เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าเยี่ยม ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันกีฬาฟุตบอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2)แบบประเมินทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอล จำนวน 7 ฉบับ 3)แบบทดสอบวัดความรู้ทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอล จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เรื่องกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.50/79.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด2. ทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเท่ากับ 46.10 คิดเป็นร้อยละ 76.67 และคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียน เรื่องกีฬาฟุตบอล เท่ากับ 38.29 คิดเป็นร้อยละ 79.78 หมายความว่า การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ส่งผลให้ทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอลของนักเรียนสูงขึ้นและเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1). 7-20.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปภิชญา เรืองโค. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะของซิมพ์ซัน เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปัญญา ไข่พรมราช. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน. วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Simpson, R.D. and Brown, D.R. (1977). Validating Science Teaching Competencies Using the Delphi : Method. Science Education. 61(6). 211-213.