ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชัน ZARA ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปริฉัตร บุญเกื้อหนุน
สุมามาลย์ ปานคำ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชัน ZARA ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2)เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชัน ZARA ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชัน ZARA และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง


          ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านการรับรู้สัมผัส 2)ด้านประสบการณ์ 3)ด้านคุณค่าตราสินค้า และ 4)ด้านความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 249.23, ค่า CMIN/df = 1.96, ค่าองศาอิสระ (df) = 127,  ค่า GFI = 0.94, ค่า  AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.03, ค่า RMSEA = 0.04 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.99 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชัน ZARA ได้ร้อยละ 99 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านประสบการณ์ และด้านคุณค่าตราสินค้า มีอิทธิพลทางตรงต่อด้านความตั้งใจซื้อตามลำดับ ซึ่งแอปพลิเคชัน ZARA สามารถนำผลวิจัยไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชัน ZARA ในครั้งต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทวีพร พนานิรามัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ A ของผู้บริโภคในเขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2561). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อตราสินค้ารองเท้ากีฬาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 16(1). 207-218.

นิเวศน์ ธรรมะ. (2562). ประสบการณ์การซื้อออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์.วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 5(1). 62-71.

ฤดี หลิมไพโรจน์. (2556). การตลาดสินค้าแฟชั่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลงทุนแมน. (2560). ZARA ร้านขายเสื้อผ้าอันดับ 1 ของโลก. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565. จาก http://longtunman.com/250

สรีพร โพธิ์งาม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความไว้วางใจตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมนมาศย์ ศรีเปลี่ยนจั่น และโรจนศักดิ์ โฉมวิไลลักษณ์. (2560). ประสบการณ์การซื้ออาหารออนไลน์ที่มีผลกระทบต่อความตั้งใจซื้ออาหารออนไลน์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. 7th ed. New York : Pearson.

Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-Fit Indices. Sociological Methods and Research. 11(3). 325–344.

Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 3rd ed. New York, NY : The Guildford Press.

Krungsri Plearn. (2021). ZARA แบรนด์แฟชั่นระดับโลก ที่ขายดิบขายดีด้วยพลังของข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565. จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/ zara-data-driven-fashion.

Jani and Han (2014). Personality, satisfaction, image, ambience, and loyalty: Testing their relationships in the hotel industry. International Journal of Hospitality Management. 37(February 2014). 11–20.