เจตคติที่มีต่อการทำโครงงานเคมีระหว่างการใช้แนวทางการสืบเสาะแบบเปิด และแนวทางการสืบเสาะแบบชี้แนะแนวทาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการทำโครงงานเคมีระหว่างการใช้แนวทางการสืบเสาะแบบเปิดและการสืบเสาะแบบชี้แนะแนวทางในวิชาเคมีของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน กลุ่มทดลองใช้แนวทางการสืบเสาะแบบเปิด และกลุ่มควบคุมใช้การชี้แนะแนวทาง เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดเจตคติที่มีต่อการทำโครงงานเคมี ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เป็นแบบลิเคิร์ตสเกล และส่วนที่ 2 เป็นแบบเลือกตอบ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละและสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้แก่การทดสอบแมนน์–วิทนีย์ ยูและการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการทำโครงงานระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบวัดระเภท Likert scale พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสถิติทดสอบแมนน์–วิทนีย์ ยู(ที) เท่ากับ 58 และค่าความน่าจะเป็นแมนน์–วิทนีย์ ยู(พี)เท่ากับ 0.00 โดยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และ 3.13 ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบเจตคติมีต่อการทำโครงงานเคมีระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบวัดประเภทเลือกตอบ พบว่า ด้านเวลาที่ใช้และความยากในขั้นการปฏิบัติการระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มมีสัดส่วนแตกต่างต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วยด้านเวลาที่ใช้(2=6.79,p=0.01)ด้านความยาก(2=4.44,p=0.03) และด้านเหตุผลที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการสืบเสาะทำโครงงานมี 2 ปัจจัย ได้แก่ด้านผู้ร่วมทำโครงงาน(2=11.92,p=0.00) และด้านอาจารย์(2=13.87,p=0.00)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัช ทะเพชร และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 341-352.
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 46(1). 218–253.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สินีนาฎ นาสีแสน, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และวัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12(4). 1-15.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2). 2483-2485.
สุพรรษา น้อยนคร. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการกับโซเชียลมีเดียเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 26(3). 25-39.
Allport, G W. (2008). “Attitudes” In Attitudes Measurement. London : Sage.
Arslan, A. (2014). Transition between Open and Guided Inquiry Instruction. Procedia – Social and Behavioral Sciences. 141( 2014). 407–412.
Bennett, Judith. (2003). Teaching and Learning Science. London : Continuum.
Guisti, B.M. (2008). Comparison of guided and open inquiry instruction in high school physics classroom. Retrieved 1 September 2022. From http://scholar sarchive.byu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=2484&context=etd
Maksum, H. & Purwanto, W. (2022). The development of electronic teaching module for implementation of project-based learning during the pandemic. International Journal of Education in Mathematics, Science, and Technology (IJEMST). 10(2). 293-307.
Osborne, Jonathan, Simon, Shirley and Collins, Sue. (2003). Attitudes towards Science: A Review of the Literature and Its Implications. International Journal of Science Education. 25(9). 1049-1079.
Wheeler, L and Bell, R. (2012). Open -Ended Inquiry : Practice Way of Implementing in the Chemistry Classroom. Science Teacher. 3(2012). 31-39.
Zion, M and Sadeh, I. (2010). Dynamic Open Inquiry Performances of High-School Biology Students. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education. 6(3). 199-214.