การคาดคะเนวิกฤติเศรษฐกิจและการพัฒนาดัชนีชี้วัดล่วงหน้าของวิกฤตการณ์การเงินและการธนาคาร
Abstract
สรุป
ผลการศึกษาเปรียบเทียบและวิกฤตการณ์การเงินและการธนาคารระหว่าง 5 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าประเทศที่มีตลาดกำลังเกิดใหม่และประเทศอุตสาหกรรมนั้นต่างมีลักษณะร่วมกันในปัจจัยต่างๆทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจเชิงจุลภาคและปัจจัยเศรษฐกิจเชิงมหภาคที่มีส่วนร่วมให้เกิดความเสี่ยงอันจะนำมาซึ่งความล้มเหลวและวิกฤตการณ์การเงินและการธนาคาร โดยปรกตินั้นระดับความเสี่ยงในประเภทเดียวกันสามารถนำมาใช้วัดความถดถอยของระบบธนาคารได้ ประโยชน์ที่ได้จากกระบวนการศึกษาที่เน้นการศึกษาไปที่พัฒนาการความถดถอยของธนาคารมากกว่าจะเน้นไปที่พยายามอธิบายเหตุการณ์ภายหลังความล้มเหลวได้เกิดขึ้นทำให้นักวิจัยสามารถทำการประเมินความอ่อนแอหรือความบอบบางของระบบธนาคารได้ก่อนหน้าที่วิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและการธนาคารจริงจะเกิดขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงของธนาคารที่กำลังเผชิญอยู่และการพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธนาคารอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็สามารถจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายและนักวิจัยได้ด้วย
จะเห็นได้ว่าวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและการธนาคารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่อ่อนแอของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ จะยิ่งทำให้ประเทศเหล่านี้ยากในการที่จะปกป้องตนเองให้รอดพ้นจากความผันผวนทางเศรษฐกิจอันเนื่องมากจากวิกฤตการณ์การเงินการธนาคารที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะเป็นผลที่เนื่องมาจากลำดับเหตุการณ์เฉพาะและผลกระทบจากความถดถอยทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมถอยทางด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางด้านการเงิน การเกิดขึ้นของเครื่องมือหรือนวัตกรรมทางด้านการเงินใหม่ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วรวมไปถึงการเกิดขึ้นของแนวทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจในการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการเงินของโลกให้เป็นไปในแนวทางที่ซึ่งไม่สามารถจะทราบผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า หรืออาจเนื่องมาจากความเชื่อซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ถูกต้อง เช่น วิกฤตการณ์หนี้สินที่เกิดขึ้นในกลุ่มลาตินอเมริกาในปี พ.ศ.2523 นั้นให้ผลลัพธ์ที่มีรายละเอียดว่าสิ่งที่ปรากฏขึ้นนั้นไม่ได้เป็นทำให้เอกลักษณ์ทางการเงินของรัฐหรือประเทศเหล่านั้นเสียไป ส่วนวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2535 ในยุโรปนั้นก็ชี้ให้เห็นว่าประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศอุตสาหกรรมซึ่งมีระดับอัตราการจ้างงานสูงก็ยังนิยมใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่คงที่มากกว่าการพยายามทำให้เศรษฐกิจมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงในระยะสั้น ในปีพ.ศ.2537 วิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและการธนาคารในประเทศเม็กซิโกได้ทำให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความไม่สามารถปกป้องตนเองได้ที่เกิดควบคู่ไปกับภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นมากในระยะสั้นรวมไปการมีระบบธนาคารที่อ่อนแอ ในขณะเดียวกันภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในแถบเอเชียก็ชี้ให้เห็นว่าภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจเชิงมหภาคของประเทศด้วย ในขณะที่การพัฒนาของนวัตกรรมทางด้านการเงินนั้นก็นำมาซึ่งลักษณะโครงสร้างของระบบการเงินที่มีปัญหาที่ชัดเจนขึ้นในภาพรวม รวมไปถึงการชี้ให้เห็นถึงภาระหนี้และความไม่สมดุลทางด้านเงินตราของธุรกิจเอกชนและสถาบันการเงินที่แสดงออกมาในรูปของหนี้สินและความไม่สมดุลย์ทางการเงินของภาครัฐได้ในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ต้องการที่เกี่ยวกับความรู้ในการพยากรณ์ภาวะวิกฤตทางด้านการเงินและการธนาคารได้ล่วงหน้าจึงไม่ได้เป็นเพียงการทำความเข้าใจวิกฤตการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น แต่หมายถึงการที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่สามารถอธิบายวิกฤตการณ์ในอดีตนั้นๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะเหตุปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อมทางด้านการเงินที่เกดิขึ้นระหว่างประเทศ
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่