สถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวไทย
Abstract
อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ. 2533-2541 ประมาณร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวจะเดินทางไปเที่ยวทวีปยุโรปมากเป็นอันดับ 1(ร้อยละ 60 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก)รองลงมาคือ ภูมิภาคอเมริกา และเอเซียแปซิฟิก ตามลำดับ ส่วนอัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวของโลกในช่วงปี พ.ศ. 2533-2541ประมาณร้อยละ 6.5 ต่อปี และประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดของโลกอยู่ในทวีปยุโรป เมื่อพิจารณาจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นรายประเทศแล้วพบว่า ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี พ.ศ. 2541ฝรั่งเศส มีนักท่องเที่ยวจำนวน 70 ล้านคนหรือมีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นร้อยละ 11 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกรองลงมา คือ สเปน และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ แต่ ถ้าพิจารณาจากรายได้ของการท่องเที่ยวจำแนกตามรายประเทศแล้วพบว่า สหรัฐอเมริกามีรายได้จากการท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี พ.ศ. 2541 มีรายได้จาการท่องเที่ยวจำนวน 71.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.2 ของรายได้ทั่วโลก อันดับ 2 คือ อิตาลี (รายได้จากการท่องเที่ยว 30.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.9) และอันดับ 3 คือ ฝรั่งเศส (รายได้จากการท่องเที่ยว 29.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.8)
ภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับ 3 ของโลกไม่ว่าจะพิจารณาจากจำนวนนักท่องเที่ยวหรือรายได้จากการท่องเที่ยวของโลกอัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกช่วงปี พ.ศ. 2533-2541 ประมาณร้อยละ 6.3 ต่อปีซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของโลกและมีอัตรการขยายตัวเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณร้อยละ 8.0 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของโลกและมีอัตราการขยายตัวเป็นอันดับ 3 ของโลกเช่นดียวกับอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว จีน ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์และมาเลเซีย เป็น 5 ประเทศในภุมิภาคเอเซียแปซิฟิกที่มีนักท่องเที่ยวมากติดอันดับ 40 อันดับแรกของโลก ซึ่งในปี พ.ศ. 2541 อยู่ในอันดับ 6 18 21 26 และ 27 ตามลลำดับ
สำหรับประเทศไทยนั้น มีนักท่องเที่ยวมากติดอันดับที่ 21 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก รองจากจีน และฮ่องกง ไทยมีอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงปี พ.ศ.2538-2543 ประมาณร้อยละ 6.6 ต่อปี และWorld Travel & Tourism Council (WTTC) คาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2543 -2553 ประเทศไทยจะมีการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเฉลี่ยนร้อยละ 7.2 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ต่อปี
ตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทยคือ ตลาดเอเชียตะวันออก มีอสัดส่วนมากถึงร้อยละ 60 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาไทย ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นมากที่สุดประมาณร้อยละ 12 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด รองลงมาคือ นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ไต้หวัน จีน และสิงคโปร์ ตามลำดับ อันดับสองคือตลาดยุโรป โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 ของนักท่องเที่ยวที่มาไทยทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากเยอรมนีมากที่สุด รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวีเดน และอิตาลี ตามลำดับ และอันดับสามคือ ภูมิภาคอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและอเมริกาใต้ นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเที่ยวไทยมากที่สุด
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวไทยมีรายจ่ายเฉลี่ยคยละ 3,861.2 บาท/วันในปี 2543 อัตราการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเฉลี่ยในรูปเงินบาทของของนักท่องเที่ยวในช่วงปี 2538-2543 ประมาณร้อยละ 1.4 เมื่อพิจารณารายจ่ายของนักท่องเที่ยวตามภูมิภาคในปี 2543 พบว่านักท่องเที่ยวจากแอฟริกาใช้จ่ายเงินมากที่สุดถึงคนละ 6,023.3 บาท/วัน (ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั้งประเทศ) อันดับสองคือ นักท่องเที่ยวจากเอเชียใต้ 4,955.7 บาท/วัน อันดับ 3 คือ เอเชียตะวันออกกลาง 4,687.3 บาท/วัน และอันดับ 4 คือ อเมริกา 4,451.7 (จาจกแคนาดามากถึง 4,543.3 บาท/วัน ) ขณะที่นักท่องเที่ยวจากยุโรปจะใช้เงินน้อยที่สุดคือประมาณ 3,174.1 บาท/วัน โดยนักท่องเที่ยวของยุโรปที่เป็นตลาดหลักของไทยได้แก่ สหราชอาณาจักรที่ใช้จ่ายเงินคนละ 3,605.5 บาท/วัน ฝรั่งเศสและเยอรมนีใช้จ่ายเงินเพียง คนละ 3,119.9 บาท/วัน และ 2,792.0 บาท/วัน ตามลำดับ
มีข้อน่าสังเกตคือ นักท่องที่ยวจากยุโรปมีรายจ่ายเฉลี่ยน้อยกว่านักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นๆและยังมีรายจ่ายเฉลี่ยที่ลดลง(บางปีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย)ในช่วงปี 2538- 2543 โดยเฉพาะตลาดหลักของไทย คือ เยอรมนีและฝรั่งเศส สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะนักท่องเที่ยวยุโรปมีวันพักยาวนานและมักเป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมีประสบการณ์ในการทอ่งเที่ยวไทยมากกว่า 1 ครั้งมีสัดส่วนมากถึงร้อยละมากถึงร้อยละ 56 ของนักท่องเที่ยวเยอรมันทั้งหมดที่มาไทยในช่วงปี 2538-2543 จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงได้ แต่มองอีกด้ายหยึ่งอาจเนื่องมาจากไทยยังไม่ได้มีการเปิดตลาดใหม่ๆ ใน กลุ่มประเทศยุโรป
นักท่องเที่ยวมีวันพักเฉลี่ย 7-8 วันในช่วงปี 2538-2543 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของวันพักในช่วงปี 2538- 2543 ประมาณร้อยละ 1.2 นักท่องเที่ยวจากยุโรปจะพำนักนานกว่าเกณฑ์เฉลี่ยคือประมาณ 13- 14 วันวรองลงมาคือ นักท่องเที่ยวจากเอเชียเนียพักนาน 10-11 วัน นักท่องเที่ยวจากจากอเมริกาและเอเชียใต้ 9- 10 วัน จณะนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกซึ่งอยู่ใกล้กับไทยพำนักประมาณ 5 วันเท่านั้น
การท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 190.8 พันล้านบาทในปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 285.3 พันล้านบาทในปี 2543 หรือมีอัตราการขยายตัวของรายได้ในรูปเงินบาทในช่วงปี 2538 -2543 ประมาณร้อยลฃะ 8.5 รายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดในรูปเงินบาทนี้ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากเป็นอันดับหนึ่ง(เกือบครึ่งหนึ่งของรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งหมดของไทยในช่วงปี2538-2543)รองลงมาคือ จากยุโรป (ร้อยละ 30 -34) จากอเมริกา เอเชียใต้และโอเชียเนียตามลำดับ
นักท่องเที่ยวต่างชาคิที่มาเที่ยวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยเป็นผู้เดินทางมาไทยเป็นครั้งแรกมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเคยเดินทางมาไทยแล้วนิยมเดินทางมาไทยด้วยตนเองมากกว่าการมากับบริษัทนำเที่ยวจุดประสงค์ในการเดินทางมาไทยคือ เพื่อต้องการพักผ่อน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทำธุรกิจการค้า และพนักงานของบริษัทและในโรงงาน ตามลำดับ
จุดแข็งกาท่องเที่ยวไทยคือ ประชาชนคนไทยมีอัธยาศัยไมตรีดีเป็นที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวการบริการของการท่องเที่ยวคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน แต่ไทยก็มีจุดอ่อนคือ ปัญหาการจราจรแออัดในกรุงเทพฯ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงสาธารณูปโภคมีไม่เพียงพอโดยเฉพาะการกำจัดขยะในเมืองท่องเที่ยวหลัก การขายของอัญมณีและเคร่องประดับปลอมแก่นักท่องเที่ยว การขาดความร่วมมือและการประสานงานระหว่างภาคเอกชนและรัฐ และระหว่างรัฐด้วยกันเอง
อย่างไรก็ตามไทยมีศักยภาพและโอกาสที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวประเภทการประชุม แสดงงานสินค้าและการท่องเที่ยวที่เป็นรางวัล รวมทั้งการท่องเที่ยวประเภทตรวจสุขภาพ อบสมุนไพร นวดแผนโบราณ และเน้นการท่องเที่ยวเฉพาะตลาดสด เช่น ตลาดนักท่องเที่ยวประเภทดูนกและส่องสัตว์ ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ตลาดนักศึกษา ตลาดนักท่องเที่ยวคู่บ่าวสาวฮันนีมูน เป็นต้น
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่