การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่โครงการหลวง
Abstract
ข้อสรุปและเสนอแนะ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในลักษณะการนำเอาองค์ความรู้จากการวิจัยในโครงการ "การพัฒนากลุ่มสะสมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน" ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวพบว่าการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ที่เหมาะสมที่สุดคือ "กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน" ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ในเขตพื้นที่โครงการหลวงได้ประสบปัญหามากมาย เช่น ปัญหาด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น และจากการเข้าไปศึกษาและพัฒนากลุ่มออมทรัพย์ในพื้นที่ตัวอย่างพบว่า กลุ่มออมทรัพย์ตัวอย่างเมื่อได้นำรูปแบบการดำเนินงานในรูปแบบเครดิตยูเนี่ยนไปใช้แล้ว สามารถแก้ไขปัญหาได้มากโดยเฉพาะ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ นอกจากนี้หลายกลุ่มอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะเข้ามาดำเนินงานในรูปแบบของเครดิตยูเนี่ยนอย่างเต็มตัว แต่เนื่องจากติดปัญหาบางประการเช่น คณะกรรมการกลุ่มยังไม่มีความพร้อมเพราะต้องมีการศึกษาการดำเนินงานในรูปแบบเครดิตยูเนี่ยนอย่างถ่องแท้และมีความชำนาญระดับหนึ่งก่อน หรือบางกลุ่มประสบปัญหากับองค์กรหรือหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน ซึ่งกลุ่มนี้ได้แก้ปัญหาโดยการจัดตั้งกลุ้มเครดิตยูเนี่ยนขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเลิกดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ในรูปแบบเดิมส่วนการนำรูปแบบเครดิตยูเนี่ยนไปจัดตั้งในเขตพื้นที่ยังไม่มีการตัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์พบว่า สาเหตุที่ไม่มีการจัดตั้งเนื่องจาก ชุมชนดังกล่าวมีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมากแล้ว กอปรกับไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดตั้งแม้ว่าในชุมชนใกล้เคียงมีการจัดตั้ง แต่เนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ จึงทำให้ผู้นำชุมชนไม่กล้าตัดสินใจและไม่มีความมั่นใจในการจัดตั้ง แต่เมื่อได้มีการศึกษาดูงานแล้ว การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในรูปแบบเครดิตยูเนี่ยนก็ประสบความสำเร็จ และสามารถดำเนินงานมาได้จนถึงปัจจุบันนี้
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าทุกชุมชนในเขตพื้นที่โครงการหลวงมีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเงินทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มกองทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเชื่มโยงกันได้ก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชนดงกล่าวเป้นอย่างมาก
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่