ดุลภาพของตลาดสินคเา 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์

Authors

  • อุดม เกิดพิบูลย์

Abstract

สรุป 

ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะให้โครงการนี้ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากระดับรากหญ้า ผู้เขียนคิดว่าเป็นความหวังที่เลื่อนลอย เพราะวิเคราะห์ดูแล้ว โครงการนี้ยั่งยืนต่อไปไม่ได้ เงินกูเหมดเมื่อไรก็ล้มเมื่อนั้น และยังสร้าง NPL ขึ้นใหม่ด้วย

ความหวังของโครงการที่จะให้ชาวบ้านมีเงินใช้จ่ายซื้อของจากโครงการอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง แล้วจะเกิดผลทวีคูณทางด้านรายได้ (Multiplier effect)ที่จะทำให้เกิดการขยายตัวต่อไปนั้น ฝากความหวังไว้กับการใช้จ่ายรายได้เพิ่มที่แสดงไว้ด้วยรูป QQ/E/E นั้น ก็เป็นความหวังที่เลื่อนลอยเช่นเดียวกัน เพราะตั้งอยู่บนข้อสมมติที่ว่า ชาวบ้านเขาใช้สินค่าหัตถกรรมพื้นบ้านในชีวิตประจำวัน ข้อสมมตินี้ผิดพลาดจากความเป็นจริงไปมาก ในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเขาใช้จ่ายซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคจากตลาดในเมืองหรือซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น คาร์ฟูร์ แมคโคร และดลตัส และซื้อสินค้าสมัยใหม่ที่ทำจากโรงงาน มิใช่เครื่องจักสาน กระบุง ตะกร้า ฯลฯ ในบ้านเขาใช้เตาแก๊ส ตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ รถปิกอัพ เสื้อผ้าตามสมัยนิยมและหลายคนมีโทรศัพท์มือถือ นักวิชาการ ปัญญาชน และผู้บริหารที่อยู่ในกรุงเทพฯ คงคิดว่าชาวบ้านเขามีความเป้นอยู่เหมือนเมื่อ 70 ปี มาแล้ว และสวมชุดหม้อฮ่อม ผ้าขาวม้าคาดเอว ฯลฯ ซึ่งแฟชั่นชุด  “เกษตรกร” เช่นนี้ ชาวบ้านเขาสวมใส่ต้อนรับ VIP จากกรุงเทพฯ เท่านั้น เช่น รัฐมนตรี ส.ส. และหัวหน้าพรรคการเมือง

Downloads