สถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบน
Abstract
สรุปสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบน
กลุ่มสะสมทุนที่มีทั้งหมดในเขตภาคเหนือตอนบน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ กลุ่มเครดิต ยูเนี่ยน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ธนาคารหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ซึ่งสามารถแยกสรุปสภานการณ์ในภาพรวมได้ดังนี้ ประเด็นแรกเป็นการสรุปจำนวนกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ประเด็นที่สองเป็นการสรุปจำนวนสมาชิกของกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ประเด็นสุดท้าย เป็นการสรุปปริมาณเงินทุนของกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบนทั้งหมด
จำนวนกลุ่มสะสมทุนที่มีในเขตภาคเหนือตอนบนทั้งหมดจำนวน 2,099 กลุ่ม โดยแยกเป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนจำนวน 162 กลุ่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 7.72 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจำนวน 1,689 กลุ่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 80.47 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ธนาคารหมู่บ้านจำนวน 139 แห่ง หรือคิดป็นร้อยละ 6.62 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด และกลุ่มออมทรัพย์ประเภทอื่นๆจำนวน 109 กลุ่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 5.19 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด เมื่อพิจารณากลุ่มสะสมทุนในภาพรวมเป็นรายจังหวัดจะเห็นได้ว่า จังหวัดเชียงรายมีกลุ่มสะสมทุนมากที่สุดจำนวน 522 กลุ่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 24.87 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด รองลงมาได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่านมีกลุ่มสะสมทุนจำนวน 377 และ 296 กลุ่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 17.96 และ 14.10 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมดตามลำดับ ส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดแพร่มีกลุ่มสะสมทุนน้อยที่สุดเพียง 103 และ 143 กลุ่มหรือคิดเป็นร้อยละ 4.91 และ 6.81 ของกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมดตามลำดับ (ตารางที่ 8)
ด้านจำนวนสมาชิกของกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบนมีทั้งหมดจำนวน 188,062 คน โดยแยกเป็นสมาชิกของกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนจำนวน 39,583 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 21.05 ของสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีสมาชิกจำนวน 143,716 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 76.42 ของสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ธนาคารหมู่บ้านไม่มีรายงานจำนวนสมาชิกและกลุ่มออมทรัพย์ประเภทอื่นๆมีสมาชิกจำนวน 4,763 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.53 ของสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด เมื่อพิจารณาสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาพรวมเป็นรายจังหวัดจะเห็นได้ว่า จังหวัดเชียงรายมีสมาชิกกลุ่มสะสมทุนมากที่สุด จำนวน 59,195 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.48 ของสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด รองลงมาได้แก่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำปางมีสมาชิกกุล่มสะสมทุนจำนวน 35,749 และ 24,766 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.01 และ 13.17 ของสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมดตามลำดับ ส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดแพร่มีสมาชิกกลุ่มสะสมทุนน้อยที่สุดเพียง 7,467 และ 9,597 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.97 และ 5.10 ของสมาชิกกลุ่มสะสมทุนในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด (ตารางที่ 9)
ด้านปริมาณเงินทุนของกลุ่มสะสมทุนในเขตภาคเหนือตอนบนมีทั้งสิ้นประมาณ 293.51 ล้านบาท โดยแยกเป็นเงินทุนของกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนประมาณ 29.71 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 10.12 ของเงินทุนกลุ่มสะสมทุนทั้งหมดในภาคเหนือตอนบน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีประมาณ 254.70 ล้านบามหรือคิดเป็นร้อยละ 86.78 ของเงินทุนกลุ่มสะสมทุนทั้งหมดในภาคเหนือตอนบน ธนาคารหมู่บ้านไม่มีรายงานเงินทุนและกลุ่มออมทรัพย์ประเภทอื่นๆมีประมาณ 6.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.10 ของเงินทุนกลุ่มสะสมทุนทั้งหมดในภาคเหนือตอนบน เมื่อพิจารณาเงินทุนของกลุ่มสะสมทุนในภาพรวมเป็นรายจังหวัดจะเห็นได้ว่าจังหวัดเชียงรายมีเงินทุนของกลุ่มสะสมทุนมากที่สุดประมาณ 108.20 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 36.86 ของเงินทุนกลุ่มสะสมทุนทั้งหมดในภาคเหนือตอนบน รองลงมาได้แก่จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปางมีเงินทุนของกลุ่มสะสมทุนประมาณ 46.92 และ 41.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.99 และ 14.10 ของเงินทุนกลุ่มสะสมทุนทั้งหมดในภาคเหนือตอนบนตามลำดับ ส่วนจังหวัดแพร่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเงินทุนของกลุ่มสะสมทุนน้อยที่สุดประมาณ 7.47 และ 13.04 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.55 และ 4.44 ของเงินทุนกลุ่มสะสมทุนทั้งหมดในภาคเหนือตอนบนตามลำดับ (ตารางที่ 10)
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่