The database and potential analysis of cultural tourism in the Eastern Economic Corridor (EEC)
Keywords:
community attraction and community, lifestyle cultural attraction, visitorAbstract
ในงานวิจัยนี้ ทำการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อจัดทำฐานข้อมูล วิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและวิถีชุมชน โดยในด้านศักยภาพการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดพบว่า จากการรวบรวมข้อมูลสถิติการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่แสดงข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า แต่ละจังหวัดมีภาคการท่องเที่ยวที่มีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในจังหวัดชลบุรี แนวโน้มการขยายตัวของสถิติการท่องเที่ยว อาทิ รายได้จากการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยว และผู้เยี่ยมเยือน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ปัจจัยสนับสนุนด้านศักยภาพการท่องเที่ยวได้แก่ 1. ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Factor): เป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาภาคการท่องเที่ยว มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย รวมทั้งมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และ 2. สินค้าการท่องเที่ยว (Tourism Products) หลากหลายทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว
ในด้านจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ทีมวิจัยได้จำแนกแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 7 ประเภท ซึ่งจากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ EEC พบว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำรวจได้ ทั้งหมด 41 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งหมด 48 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ ทั้งหมด 3 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งหมด 114 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งหมด 182 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงชุมชนและวิถีชุมชน ทั้งหมด 87 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งหมด 97 แห่ง
ในการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวนั้น เนื่องจากจำนวนแหล่งท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัดมีจำนวนมากและหลากหลายประเภท จึงสามารถจัดทำเส้นทางได้ดังนี้ 1. จังหวัดฉะเชิงเทรา เส้นทางวิถีเกษตร วิถีธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด เขาอ่างฤาไน (พนมสารคาม สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ)
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 CHIANG MAI UNIVERSITY JOURNAL OF ECONOMICS
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่