Flood Tax for Thailand: The Case Study of Bangkok

Authors

  • Panyapat Anuwatkhunnatham School of Development Economics, National Institute of Development Administration
  • Udomsak Seenprachawong School of Development Economics, National Institute of Development Administration

Keywords:

ภาษีน้ำท่วม, ความเต็มใจที่จะจ่าย, การประเมินมูลค่าโดยวิธีสมมติเหตุการณ์, โครงการป้องกันน้ำท่วม

Abstract

This study has examined the issue of the public support for the provision of “a yearly flood tax for national flood prevention scheme” by estimating how much the public, the general population, would be willing to pay for supporting this particular scheme for the purpose of reducing Government budget deficit in providing national flood prevention project, targeting working population in Bangkok where they will be well protected from national flood control project because of economic area reason , with a yearly payment as part of their yearly income tax.

With the main use of contingent valuation method (CVM), a 600 sample surveyed study asked 20-60 years old taxpayers in Bangkok to elicit their willingness to pay (WTP) to support this flood prevention scheme with an initial tax payment of 500, 1,000, 1,500, 2,000 or 2,500 baht/year respectively. Apart from income factor, as for the measure of total economic benefit, this study also divided respondents according to geographic characteristics of their living place in order for designing flood tax rate with equity and efficiency manner.

The results of the study found that the mean WTP values for a flood prevention scheme were 1,878 baht/year for those who have lived in low-lying area and 1,464 baht/year for those who have lived in high elevated area. In addition, personal income and the rate of tax payment were the most influential factors when individuals made their decisions on whether to sponsor this scheme. This study recommends that the Thai government should execute a progressive tax with differentiated rates according to geographic characteristic to fund this scheme when a flood prevention program becomes available.

 

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเรื่อง ภาษีน้ำท่วม เพื่อสนับสนุน โครงการป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศของรัฐบาล โดยประเมิน มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายภาษีน้ำท่วมเป็นรายปี ในรูปแบบของภาษีรายได้เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าวของประชาชนวัย ทำงานและมีรายได้ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นพื้นที่ เศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของประเทศที่ต้องได้รับ การปกป้องจากโครงการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการป้องกันน้ำท่วม

การศึกษานี้ใช้วิธีประเมินมูลค่าโดยการสัมภาษณ์เป็นหลัก โดยสัมภาษณ์ประชากร ตัวอย่างผู้เสียภาษีอายุ 20 - 60 ปี จำนวน 600 คน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อประเมิน มูลค่า ความเต็มใจที่จะจ่ายภาษีน้ำท่วมเพื่อสนับสนุนโครงการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล โดย กำหนดอัตราจ่ายภาษีน้ำท่วมเริ่มต้น เท่ากับ 500 1,000 1,500 2,000 และ 2,500 บาทต่อปี ทั้งนี้ นอกเหนือจากปัจจัยด้านรายได้ การศึกษานี้ยังแบ่งประชากรตัวอย่างตามลักษณะพื้นที่ ที่อยู่อาศัยตามหลักทางภูมิศาสตร์เพื่อใช้ในการออกแบบระบบภาษีน้ำท่วมให้มีความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐศาสตร์

ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยความเต็มใจที่จะจ่ายภาษีน้ำท่วมเพื่อสนับสนุนโครงการ ดังกล่าว เท่ากับ 1,878 บาทต่อปี สำหรับประชากรตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำ และ 1,464 บาทต่อปี สำหรับประชากรตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูง นอกเหนือจากปัจจัยทางด้านความ สูง/ต่ำของพื้นที่ รายได้และอัตราจ่ายภาษีน้ำท่วมเริ่มต้นเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับ ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการตัดสินใจว่าจะสนับสนุนโครงการนี้หรือไม่ ทั้งนี้ การศึกษานี้ เสนอแนะให้รัฐบาลใช้วิธีการเก็บภาษีน้ำท่วมแบบถดถอยตามอัตรารายได้ ร่วมกับการกำหนด อัตราภาษี ที่แตกต่างกันตามลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เพื่อสนับสนุนโครงการป้องกันนํ้า ท่วมของรัฐบาล

Downloads

Published

2015-06-24