ความไม่เท่าเทียมกันทางการคลัง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบล
Keywords:
การคลังท้องถิ่น, ความไม่เท่าเทียมกัน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Local government fiscal, Inequality, Local administrationAbstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียม กันทางการคลังท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในระดับตำบล 2 รูปแบบ คือ เทศบาลตำบล และองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งสิ้น 75 จังหวัด โดยศึกษารายได้ของ อปท. 3 แหล่ง คือ (1) รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง (2) รายได้ที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ และ (3) เงินอุดหนุนจากรัฐ การศึกษาในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบค่าสัมประสิทธิ์จีนี นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากแหล่งต่างๆ โดยอาศัยวิธีการประมาณสมการถดถอย พร้อมทั้ง การประมาณเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่รัฐจะต้องจ่ายให้กับ อปท. ในระดับตำบลเพื่อลดความ เหลื่อมลํ้าทางการคลังภายใต้สถานการณ์สมมติต่างๆ กัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า รายได้รวมต่อประชากรโดยเฉลี่ยของเทศบาลตำบลมีมูลค่าสูงกว่าของ อบต. รายได้ที่ อปท. เก็บเองมีความแตกต่างกันมากกว่ารายได้แหล่งอื่น เมื่อวิเคราะห์แยกองค์ประกอบ ค่าสัมประสิทธิ์จีนี พบว่า สัดส่วนความมีอิทธิพลของเงินอุดหนุนจากรัฐต่อความไม่ เท่าเทียมกันของรายได้ที่วัดจากค่าสัมประสิทธิ์จีนีคิดเป็นร้อยละ 40 ค่าผลกระทบหน่วย สุดท้ายแสดงให้เห็นว่าเงินอุดหนุนจากภาครัฐช่วยลดความเหลื่อมลํ้าของรายได้เพียง เล็กน้อย ผลการประมาณสมการรายได้แสดงว่าเงินอุดหนุนจากรัฐที่ให้กับเทศบาลตำบล นั้นทำให้เกิดความเท่าเทียมทางการคลังน้อยลง ในขณะที่เงินอุดหนุนที่ให้ อบต. นั้น ทำให้เกิดความเท่าเทียมทางการคลังมากขึ้น จำนวนเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่ต้องการใช้ เพื่อลดความเหลื่อมลํ้าทางการคลัง ภายใต้ข้อสมมติของการศึกษา แสดงให้เห็นว่าหากต้องการปรับให้ อบต. มีรายได้รวมต่อประชากรขั้นตํ่าเทียบเท่าเทศบาลตำบล เงินอุดหนุนที่รัฐจะต้องจ่ายเพิ่มถึง 47 พันล้านบาท ทำให้เทศบาลตำบล 670 แห่ง และ อบต. 4,547 แห่ง มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น
Fiscal Inequality of Local Governments in Tambon level
The objective of this research was to analyze fiscal inequality of local administrative organizations in tambon level which were the tambon municipality and the tambon administrative organization (TAOs) in 75 provinces. The study focused on 3 sources of local administrative finance: (1) own-revenues, (2) shared taxes and (3) grant revenue from central government. Gini decomposition was used to analyze the effect of revenue from various sources on an inequality. Additionally, factors affecting the revenue from each source were examined by using regression method. Lastly, the earmarked funds to lessen horizontal imbalance were estimated under different scenarios. The result showed that on average, tambon municipalities had higher total revenue per capita than TAOs. The high disparity was most pronounced in own-tax revenue per capita. Gini decomposition analysis showed that grant revenue contributed approximately 40 percent of total inequality. The value of marginal effect implied that grant revenue did little to reduce fiscal inequality. The estimation results can be concluded that grant revenue lessened fiscal imbalance in the case of TAOs but not in the case of tambon municipalities. Moreover, central government had to set up the earmarked funds of 47 billion baht to narrow down the fiscal gap by raising the total revenue per capita up to the minimum level. This would make 670 tambon municipalities and 4,547 TAOs better off.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่