SUSTAINABILITY OF COMMUNITY-BASED TOURISM: COMPARISON OF MAE KAM PONG VILLAGE IN CHIANG MAI PROVINCE AND TA PA PAO VILLAGE IN LAMPHUN PROVINCE
Keywords:
Sustainable Community-Based Tourism (CBT), Fuzzy Delphi Technique, Mae Kam Pong village, Ta Pa Pao village, การท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน, วิธีฟัซซีเดลฟาย, หมู่บ้านแม่กำปอง, หมู่บ้านทาป่าเปาAbstract
This research compared community tourism management in Mae Kam Pong village in Chiang Mai Province and in Ta Pa Pao village in Lamphun Province in terms of sustainable development. This research employed the effective indicators developed by a fuzzy delphi technique to evaluate the level of sustainable Community-Based Tourism (CBT) development. The survey instrument was based on a review of published papers, interviews, and semi-structured questionnaire. The target populations of the surveys were the villagers and village leaders as well as tourists living and visiting these two villages. The research results can be grouped into five categories: (1) the economic dimension; (2) the social, cultural, and ecological dimension; (3) the collaboration of stakeholders (villagers, government, and the private sector); (4) villagers’ comprehension of the sustainable CBT development; and (5) tourists’ expectations and perspectives on tourism. Mae Kam Pong village, a very successful tourist destination in Chiang Mai, showed a successful development in sustainable CBT while Ta Pa Pao village, a small village in Lamphun, did not. However, the research results showed that the local economies of both villages were not sufficiently strong and stabilized. The villagers needed to be more self-reliant to protect themselves against external shocks. Furthermore, neither village truly understood the meaning of sustainable CBT. These were important factors which limited the ability of the communities to achieve sustainable CBT.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนบนพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านทาป่าเปา จังหวัดลำพูน เครื่องมือ วิจัยที่ใช้สำหรับการสำรวจประกอบด้วยการสำรวจวรรณกรรมที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการ การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง กลุ่มประชากร เป้าหมายประกอบด้วยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ศึกษา ผู้ใหญ่บ้านของทั้งสองหมู่บ้าน และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมหมู่บ้านทั้งสอง งานวิจัยนี้แบ่งการรายงานผลการศึกษา ออกเป็น 5 กลุ่ม: (1) มิติด้านเศรษฐกิจ; (2) มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม; (3) ความร่วมมือ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ชาวบ้าน รัฐบาล และภาคเอกชน); (4) ความเข้าใจของชาวบ้าน ในหลักการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน; และ (5) ความคาดหวังของ นักท่องเที่ยวและทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยว งานวิจัยชิ้นนี้สรุปว่าบ้านแม่กำปอง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน แต่บ้านทาป่าเปา ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัด ลำพูนนั้น ถือว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ชี้ว่าระบบ เศรษฐกิจท้องถิ่นของทั้งสองหมู่บ้านนั้นยังไม่เข้มแข็งหรือมีเสถียรภาพเท่าที่ควร ชาวบ้านควรจะพึ่งพาตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากผลกระทบภายนอกได้ มากกว่านี้ นอกจากนี้ชาวบ้านจากทั้งสองหมู่บ้านยังขาดความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยว โดยชุมชนอย่างยั่งยืน
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่