ทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการปัญหาการกัดเซาะหาดทราย: การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ของสังคม
Keywords:
หาดทราย, ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง, การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์, นโยบายการจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่ง, sandy beach, coastal erosion problem, cost-benefit analysis, management policies for coastal erosionAbstract
การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทาง เศรษฐศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการ ปัญหาการกัดเซาะชายหาด โดยสองแนวทางหลักที่เปรียบเทียบคือ หนึ่ง การป้องกันการกัดเซาะโดยใช้โครงสร้างแข็งรูปแบบต่างๆ และสอง การป้องกันและฟื้นฟูชายหาดด้วยวิธีที่สอดคล้องกับวัฏ จักรสมดุลของชายหาดและการใช้ประโยชน์หาดทรายจากการทาหน้าที่เป็นกันชนธรรมชาติ ร่วมกับการรื้อถอนโครงสร้างที่รบกวนระบบสมดุลทรายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ออกไป โดยเป็น การวิเคราะห์ในช่วงเวลา 20 ปี (2557-2577) อัตราคิดลด 4.16% ผลการศึกษาพบว่า วิธีการตามทางเลือกที่สองมีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์สูงกว่า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับประโยชน์สุทธิมากกว่าทางเลือกที่หนึ่ง (มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ หรือ NPV ของทางเลือกที่หนึ่งเท่ากับ -2,646 ล้านบาท ในขณะที่ทางเลือกที่สองเท่ากับ 37 ล้านบาท)
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า หากมีการรื้อถอนสิ่งแปลกปลอมที่เป็นสาเหตุการกัดเซาะออกไป จะ ทาให้มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิเพิ่มสูงขึ้น (NPV เท่ากับ 214.7 ล้านบาท) จากข้อค้นพบนี้ การวิจัยได้เสนอให้การจัดการปัญหากัดเซาะชายหาด ควรมี ทิศทางป้องกันและฟื้นฟูหาดทรายด้วยวิธีที่สอดคล้องกับวัฏจักรสมดุลของชายหาดตาม ธรรมชาติ เพื่อผลต่อความสมดุลของระบบหาดตามธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์หาด ทรายในการเป็นกันชนธรรมชาติซึ่งจะทาให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด
This economics-based cost-benefit analytical research provides comparative information between two main policy approaches of sandy beach erosion management. The first approach focused on sandy beach protection under hard construction while the second one focused on protection and restoration by adopting methods harmonious with a sandy beach’s natural balance cycle and natural function as a buffer against coastal erosion, together with removal of unused coastal construction. The analysis estimate was based on a 20-year period (2014-2034) with 4.16% discount rate. The analysis found the second approach to be more economically efficient and also more fair to involved stakeholders, considering overall costs and benefits, compared with the first one. (Net present value, NPV, of the first approach was -2,646 million baht, and of the second one 37 million baht) The results also indicate that removal of the hard construction objects which cause erosion can help increase social net benefit (NPV=214.7 million baht).
In conclusion, this report recommends that the policy option for sustainable sandy beach management should be protection and restoration using methods harmonious with a sandy beach’s natural balance cycle and natural function as a natural buffer against coastal erosion.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่