การใช้ทฤษฎีเกมในการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองเข้าสู่ระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Keywords:
ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง, การผลิตแบบดั้งเดิม, การผลิตที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ทฤษฎีเกม, golden dried longan, traditional production, green oriented production, game theoryAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการตัดสินใจที่ดีที่สุดระหว่างการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองแบบดั้งเดิมและการ ผลิตที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม โดยเครือข่ายวิสาหกิจลำไยอบแห้งเนื้อสีทองในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จำนวน 2 เครือข่ายถูกเลือกแบบเจาะจง เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับเล่นเกมในครั้งนี้ ผลการวิจัย พบว่า ระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้ผลิตเพราะใช้ทรัพยากรน้อย แต่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูง ทั้งนี้ ผลการวิจัยที่ได้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจลำไยอบแห้งเนื้อสีทองในประเทศไทยในการตัดสินใจเปลี่ยนแปลง การผลิตจากแบบดั้งเดิมเป็นระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
This paper aims to analyze the best decision making guideline between traditional and green oriented productions of the golden dried longan enterprises by applying the game theory. Two golden dried longan enterprise clusters in Chiang Mai and Lamphun provinces are purposive selected as the samples for playing in this game. The result represented that the green production system is the best choice of producers because of low physical resource usage but high economic payoffs. This findings are obviously useful for the golden dried longan enterprises in Thailand to make a decision for changing their production from traditional to green orientation systems.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่