ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีต่อดัชนี ตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Keywords:
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ความสัมพันธ์เชิง ดุลยภาพในระยะยาวแบบแพแนล, ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, The small and medium enterprise stock indexes, Panel cointegration, Southeast Asian countriesAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีต่อดัชนี ตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ 3 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ เป็นตัวแปรอธิบายในการศึกษานี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย และดัชนีราคานํ้ามัน ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลพาแนล ประกอบด้วย ข้อมูลอนุกรมเวลารายวัน ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน ปี 2009 ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม ปี 2011 และข้อมูลภาคตัดขวาง 3 ประเทศ
ข้อมูลก่อนนำมาวิเคราะห์ ได้ทำการทดสอบความนิ่งของข้อมูลด้วยวิธีพาแนล ยูนิทรูท ผลการทดสอบพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของทั้ง 3 ประเทศ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีราคานํ้ามัน โดยข้อมูล มีลักษณะนิ่งที่อันดับของผลต่างอันดับที่ 1 ซึ่งจะสามารถนำไปทดสอบสมการพาแนล ต่อไป การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบสมการพาแนลด้วยวิธีพีดรอนิ และวิธีเกา ที่มีค่าคงที่ ผลการทดสอบพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีราคานํ้ามันมีความ สัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว จากนั้นได้ทำการประมาณแบบจำลอง โดยการประมาณ แบบอิทธิพลคงที่และแบบอิทธิพลสุ่ม ผลการประมาณพบว่าการประมาณค่าแบบจำลอง ด้วยวิธีการประมาณแบบอิทธิพลคงที่มีความเหมาะสมกับแบบจำลอง โดยพิจารณาจากสถิติทดสอบเฮาส์เมน
การศึกษานี้ได้ทำการประมาณค่าความสัมพันธ์แบบพาแนล ด้วยวิธีการประมาณ ค่าแบบกำลังสองน้อยที่สุด ผลการประมาณด้วยวิธีดังกล่าว พบว่า อัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีราคานํ้ามัน มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทิศทางตรงกันข้าม ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และอัตรา ดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในทิศทางเดียวกัน
THE IMPACTS OF ECONOMIC VARIABLES ON THE SMALL AND MEDIUM ENTERPRISE STOCK EXCHANGES IN SOUTHEAST ASIAN COUNTRIES
The purpose of this study is to analyze the relationships between the economic variables and the small and medium enterprise stock indexes in Southeast Asian countries consisting of Thailand, Malaysia, and Singapore. The economic variables which are explanatory variables used in the study include the stock exchange index, the exchange rate, the interest rate and the oil price index. The analysis is conducted using panel co-integration using daily timeseries data from June 22, 2009 to July 22, 2011, and cross sectional data of 3 countries.
Before estimating the data, we performed the panel unit root tests and the result shown that the small and medium enterprise stock index, the stock exchanges index, the exchange rate, and the oil prices index do not contain unit root which means that these data are stationary within an order of integration 1. The panel equation test using the Pedroni and the Kao tests with the constant term indicated that the small and medium enterprise stock index, the stock market index, the exchange rates and the oil price index are cointegrated. The estimates for the model including the pooled estimator and the fixed effect and the random effect revealed that the fixed effect is more suitable for the model according to considering Hausman Test.
This study estimates the panel cointegration using the Ordinary Least Square method. The results of those methods shown that there is cointegration between the small and medium enterprise index, the exchange rate, and the oil price index in the positive relationship. There is cointegration between the small and medium enterprise index, the stock exchanges index, and the interest rate in the negative relationship.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่