ประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ในเขตภาคเหนือตอนบน

Authors

  • อารีย์ เชื้อเมืองพาน สาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
  • อารี วิบูลย์พงศ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เยาวเรศ เชาวนพูนผล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ประสิทธิภาพการผลิต, คุณภาพชีวิต, ครัวเรือนเกษตร, กลุ่มออมทรัพย์, ภาคเหนือตอนบน, Production efficiency, Quality of life, Agricultural households saving group, Upper North

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ต้องการตรวจสอบว่าการมีประสิทธิภาพการผลิตครัวเรือนเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน มีส่วนทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตของครัวเรือนเกษตร ที่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ โดยใช้ Data Envelopment Analysis(DEA), เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตครัวเรือนเกษตรกร โดยใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ของ UNDP และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับประสิทธิภาพ การผลิตของครัวเรือนเกษตร ด้วยแบบจำลอง Order Probit ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนร้อยละ 60 มีประสิทธิภาพการผลิตของครัวเรือน (ซึ่งประกอบไปด้วย รายได้จากการเกษตรและนอกการเกษตรต่างๆ) อยู่ในระดับตํ่ากว่า 0.60 อันเนื่องจากมีการผลิตที่ใช้ทรัพยากรแรงงานในขั้น DRS ระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการทำบัญชีครัวเรือนช่วยเพิ่มโอกาส ในการยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นควรให้ความรู้กับเกษตรกรทั้งเรื่องการจัดสรรทรัพยากรและการเงิน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

 

This study aimed to examine whether efficiency of agricultural households in upper North affect their quality of life. There were three specific objectives: to analyze the production efficiency of agricultural household group savings by using Data Envelopment Analysis (DEA), to examine the quality of life of agricultural household by using an Human Development Index (HDI) of UNDP, and to evaluate the relationship between quality of life and production efficiency of agricultural household by Order probit model. The results showed that 60 percent of the household has production efficiency (consisting of income from agriculture and non agricultural) lower than 0.40 because these production used labor resources in decreasing return to scale. The quality of life of most households is in the middle. In addition, we found that, the production efficiency and lifestyle according to sufficiency economy significantly increase the opportunity of quality of life elevation. Therefore, the government should encourage farmers to have the ability to allocate appropriate resources and labor, and to conduct household account in order to manage their better spending and investment.

Downloads