การประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้้าหนองเล็งทราย
Keywords:
มูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการ, ต้นทุนการเดินทาง, วิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า 1 ค่า, Valuation of Recreational Benefits, Travel Cost Method, Contingent Valuation MethodAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้าหนองเล็งทราย โดยประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์โดยตรงด้วยวิธี Individual travel cost Method (ITCM) และมูลค่าเผื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตด้วยวิธี Contingent Valuation Method (CVM) ผลการศึกษา พบว่า ในแต่ละปีพื้นที่ชุ่มน้าหนองเล็งทรายมีมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการประมาณ 65.54 ล้านบาท/ปี แบ่งเป็นมูลค่าการใช้ประโยชน์โดยตรงประมาณ 61.47 ล้านบาท/ปี และมูลค่าเผื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตประมาณ 4.07 ล้านบาท/ปี โดยผู้มาเยี่ยมเยือนจะมีอรรถประโยชน์สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายในแต่ละครั้ง และยินดีที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดการภายในพื้นที่และสาธารณูปโภคพื้นฐานของหนองเล็งทราย โดยต้องการให้มีการตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาดูแลพื้นที่และรายได้ที่เกิดจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวร่วมกับตัวแทนของชุมชน จากการศึกษานามาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ว่า ควรมีการกาหนดค่าธรรมเนียมการใช้บริการที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ร่วมกับการกาหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน การดาเนินการในลักษณะดังกล่าวมีส่วนทาให้ผู้ใช้ประโยชน์เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้าหนองเล็งทราย และลดการผลักภาระต้นทุนภายนอกให้กับชุมชนหรือหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อนามาสู่การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้าหนองเล็งทราย
An Evaluation of Recreational Benefits of Nong Leng Sai Wetland
This paper aims to evaluate the recreational benefits of Nong Leng Sai wetland. The Individual Travel Cost Method (ITCM) and Contingent Valuation Method (CVM) were applied to evaluate the direct and optional use value. The results show that the recreation benefit values of Nong Leng Sai are approximately 65 millions baht per year. The direct and optional use value are composed of 61 and 4 millions baht each year, respectively. Visitors received recreational utility benefits more than their travel expenses. In addition, they were fully willingness to pay for preserving the environment and natural resources and managing the basic facilities and areas. Especially, the individual organization should be established and authorized by community stakeholder in order to manage the fee and maintain the areas. Furthermore, setting the variety of fees based on different uses and proposed should be an effective policy that the visitors will be aware of the environment and natural resources value. As a result, it will lead to the reduction of externality cost and sustainable natural resources and environment management at Nong Leng Sai preservation area
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่