การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Keywords:
ประสิทธิภาพ, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม, Efficiency, Combined Cycle power plantAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมภายใต้ความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยการประมาณ ค่าจากสมการวิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม (Data Envelopment Analysis: DEA) และ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจำนวน 4 แห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2552 โดยใช้แบบจำลองโทบิต
ผลการศึกษาพบว่าระดับประสิทธิภาพเฉลี่ยภายใต้ข้อสมมติฐานผลตอบแทนต่อขนาดการผลิตคงที่ (Constant Returns to Scale) ระดับประสิทธิภาพเฉลี่ยภายใต้ข้อสมมติฐานผลตอบแทนต่อขนาด การผลิตผันแปร (Variable Returns to Scale) และระดับประสิทธิภาพเฉลี่ยอันเนื่องมาจากขนาด การผลิต (Scale Efficiency) เท่ากับ 0.933 0.996 และ 0.936 ตามลำดับ โดยโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมส่วนใหญ่อยู่ในช่วงผลผลิตต่อขนาดการผลิตคงที่ และผลผลิตต่อขนาดการผลิตเพิ่มขึ้น แสดงว่า ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมมีการใช้ระดับปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม และมีบาง ส่วนที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตน้อยเกินระดับที่เหมาะสม ดังนั้น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมใดที่อยู่ ในช่วงผลผลิตต่อขนาดการผลิตเพิ่มขึ้น จึงควรเพิ่มระดับการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อให้มีระดับการใช้ ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ร่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พบว่า การเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งตลาดของโรงไฟฟ้ามี ผลทำให้ระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของเวลาก็มีผลทำให้ระดับประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันแต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง(diminishing rate) นอกจากนี้ยังพบว่า โรงไฟฟ้าพลัง ความร้อนร่วมที่มีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน มีการใช้ปัจจัยการผลิตประเภทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ร่วมกันและมีระดับการปล่อยมลพิษทางน้ำสูงจะมีระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคลดลง
The objectives of this study were to investigate technical efficiency of combined cycle power plants of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) by applying Data Envelopment Analysis (DEA), and to examine factors affecting efficiency of 4 combined cycle power plantsduring 2005-2009 by employing Tobit model.
The results of technical efficiency of combined cycle power plants found that their average level based on constant return to scale (CRS), variable returns to scale (VRS) and scale efficiency (SE) were 0.933, 0.996 and 0.936, respectively. Most of combined cycle power plants showed constant and increasing return to scale implying that some power plants were faced up to the lower input-utilization process. As a result, the increase in utilization of input quantity led to achieve economies of scale.
Regarding to the factors affecting the technical efficiency of combined cycle power plants, the results revealed that the increase in market share of power plants led to the higher level of their technical efficiency. Also, the increase in time trend led to the higher level of technical efficiency but with diminishing rate. On the other hand, the combined cycle power plants that had long period of used operation, utilized fuel oil and natural gas as the input factors, and had the higher level of water-pollution emission would have the lower technical efficiency.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่