การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ในกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวิธี เออาร์ดีแอล
Keywords:
หุ้น, ตลาดหลักทรัพย์, การท่องเที่ยวและสันทนาการ, ARDL, Securities, Stock exchange, Tourist businessAbstract
การศึกษาในครั้งนี้ ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาของหลักทรัพย์ ในกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย กระบวนการ เออาร์ดีแอล (ARDL approach to cointegration) และทดสอบด้วยวิธี Cointegration และ Error Correction Mechanism (ECM) โดยใช้ข้อมูลรายเดือนราคาของ หลักทรัพย์และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ จากหลักทรัพย์จำนวน 13 หลักทรัพย์ในหมวด ท่องเที่ยวและสันทนาการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 48 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และ ข้อมูลของราคาน้ำมัน ราคาทองคำ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (บาท/ดอลลาร์สหรัฐ) และอัตราดอกเบี้ย
จากการศึกษาขั้นตอนทดสอบหาความนิ่งของตัวแปรโดย ADF Test นั้น มีเพียงหลักทรัพย์ ERAWAN ที่มี Order of Integration เท่ากับ 2 ทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ในขั้นตอนการหาความสัมพันธ์ ระยะยาวและระยะสั้นได้ เพราะขัดต่อทฤษฎีของกระบวนการ ARDL approach to cointegration ที่สามารถยอมรับข้อมูลที่มีความนิ่งที่ Order of Integration เท่ากับ 0 และ 1 เท่านั้น ในส่วนของ การปรับตัวในระยะยาวนั้น พบว่ามีหลักทรัพย์จำนวน 11 หลักทรัพย์ซึ่งได้แก่ ASIA CENTEL ROH SHANG CAWOW CSR GRAND LRH MME OHTL ที่ตัวแปรต้นมีผลกระทบราคาของหลักทรัพย์ ทั้งในทิศทางเดียวกันและตรงกันข้าม และมีเพียงหลักทรัพย์ DTC และ MANRIN ที่พบว่าราคาของ หลักทรัพย์ไม่มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวต่อตัวแปรต้นตัวใดเลย นอกจากนี้ ในส่วนของการทดสอบการปรับตัวระยะสั้นนั้น พบว่า ราคาของหลักทรัพย์ทุกหลักทรัพย์มีการปรับตัวระยะสั้นจาก การเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้นบางตัวแปรอย่างมีนัยสำคัญ และยังพบว่า ตัวแปรต้นที่มีความสัมพันธ์ต่อ ราคาของหลักทรัพย์ทั้งในระยะยาวและระยะสั้นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ
This study has the objective to analyze the factors affecting the price of securities in the tourism sector in the Stock Exchange of Thailand through the application of the ARDL approach to cointegration using Cointegration and Error Correction Mechanisms (ECM). Data for study were the closing price and trading volume of thirteen securities in the tourism sector in the Stock Exchange of Thailand, as well as the diesel retail prices, exchange rates in Baht-US dollar, monthly closing price of gold, average 4-month fixed deposit interest rate of four majors commercial banks during the period of 31 January 2007 through 31 December 2010, covering 48 weeks. Unit Root Test of time series data was performed by the Augmented Dickey-Fuller method with results that showed Order of Integration 2: I(2) applied to analyze the long-run and short-run relationships because the ARDL approach to cointegration method accepts stationary at I(0) and I(1) only. The short-run results indicate that every security has both positive and negative effects. The long-run results indicate that there is no long-run relationship occuring on DTC and MANRIN.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่