การประเมินมูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณี คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ในอำเภอแม่วาง เชียงใหม่ ประเทศไทย Valuation of Recreational Benefits of Natural Tourism Sites : A Case Study of the Decline in Quality of Tourism Si
Keywords:
ต้นทุนการเดินทางส่วนบุคคล, มูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการ, อำเภอแม่วาง, Individual Travel Cost Method (ITCM), Recreational benefit values, Mae Wang DistrictAbstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงนันทนาการในชุมชนแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงมูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กรณีสมมติ คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมลง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนการเดินทางส่วนบุคคล (Individual Travel Cost Method, ITCM) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีลักษณะการเดินทางแบบ Single Purpose Visitors จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปท่องเที่ยวในชุมชนแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของนักท่องเที่ยว ทัศนคติของนักท่องเที่ยว ประสบการณ์ ต้นทุนในการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนแม่วาง และต้นทุนในการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวทดแทน ส่วนมูลค่าผลประโยชน์ด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนแม่วางในปี 2558 มีมูลค่าเท่ากับ 181,194,840 บาท ในกรณี สมมติให้คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมลง จะมีผลทำให้อุปสงค์นันทนาการสำหรับแหล่งท่องเที่ยวแม่วางลดลง โดยนักท่องเที่ยวได้รับส่วนเกินผู้บริโภคเฉลี่ยต่อครั้งลดลง
ร้อยละ 31.37 และมูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 69.05 ผลการศึกษาที่ได้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำไปเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นการรักษาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม มีมาตรการควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยว วางแผนจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในแต่ละช่วงเวลาให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุดเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีจากนักท่องเที่ยว และรู้สึกคุ้มค่าในการเดินทาง
Abstract
This research aims to determine factors that affect the visitors’ decision to travel to the natural tourism sites in Mae Wang District, Chiang Mai Province and to evaluate the change of recreational benefit value of the natural tourism sites in Mae Wang District, Chiang Mai Province, Thailand based on scenario of the decline in quality of tourism sites. In this study, we collected information from 400 Thai visitors who were single purpose visitors by using questionnaires and analyzed the collected information with the Individual Travel Cost Method (ITCM). Our study indicated that average incomes, attitude, experience, travel cost to tourism sites in Mae Wang District, and travel cost to alternative tourism sites are significant factors that influence the visitors’ decision to visit tourism sites in Mae Wang District. We also found that in the scenarios of the decline in quality of tourism sites, recreational demand of visitors is expected to decrease corresponding with 31.37% decrease in consumer surplus per visit. Recreational values of tourism sites are also expected to decrease by 69.05% from the estimated value of 181,194,840 THB in the year 2015. In conclusion, the results of this study provide necessary information for relevant organizations to impose measures to develop tourism sites and protect them against the decline in quality. The measures must include tourism resource consumption control and visitor facility management in order to achieve maximum satisfaction from visitors and create positive attitude of visitors that destination they visit are worth visiting.
Downloads
Published
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่