การวิเคราะห์การเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 Total Factor Productivity Growth Analysis of Non-Life Insurance in Thailand after the 1997 Asian Financial Crisis
Keywords:
ประกันวินาศภัย, การวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล, การเติบโตผลิตภาพ ปัจจัยรวม, การเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิค, การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิค, Non-life insurance, Data Envelopment Analysis, Total Factor Productivity Growth, Technological Change, Technically EfAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมและองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2557 โดยใช้เลขดัชนีผลิตภาพการเติบโตปัจจัยรวมของ Malmquist ทางด้านผลผลิตด้วยวิธีการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis: DEA) ที่วัดทางด้านจำนวนกรมธรรม์เท่านั้น การศึกษานี้ใช้ข้อมูลแบบผสม (Panel) ของ 63 บริษัทจากรายงานประจำปีของบริษัทประกันวินาศภัยที่รายงานต่อสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยแบ่งบริษัทประกันวินาศภัยเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกและกลุ่มส่วนแบ่งตลาดอื่นๆ จากการศึกษาพบว่าลักษณะสำคัญของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยคือ มีบริษัทขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมากและขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การรับประกันภัยเป็นแบบกระจุกตัว เป็นธุรกิจประเภทใช้แรงงานเข้มข้น และรูปแบบกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้นับแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ภายใต้กฎระเบียบการดำเนินงานที่เข้มงวดและการแข่งขันในอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยที่รุนแรง เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการดำเนินงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทั้งด้านสำนักงาน การขาย และการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ผลการวิเคราะห์การเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมของบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2541-2557 พบว่ามีการเติบโตอย่างก้าวหน้าจำนวน 40 บริษัทและอีก 23 บริษัทที่เหลือเติบโตอย่างถดถอย จากการศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมพบว่าบริษัทประกันวินาศภัยโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคอย่างก้าวหน้า แต่การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคทางด้านผลผลิตเป็นไปอย่างถดถอย กล่าวคือ บริษัทประกันวินาศภัยโดยส่วนใหญ่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจประกันวินาศภัยหลังวิกฤติทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นแต่ไม่มีการบริหารจัดการจำนวนสาขา พนักงานและผู้บริหารอย่างเหมาะสม บริษัทประกันวินาศภัยที่มีการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ ทูนประกันภัย นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ พุทธธรรมประกันภัย และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัย ซึ่งไม่อยู่ในกลุ่มบริษัทประกันวินาศภัยที่มีส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกโดยบริษัทที่อยู่ในกลุ่มส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกมีการเติบโตผลิตภาพปัจจัยรวมและการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคในช่วงปี พ.ศ. 2541-2557 น้อยกว่าบริษัทที่อยู่ในกลุ่มส่วนแบ่งตลาดอื่นๆ แต่การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคทางด้านผลผลิตมากกว่ากล่าวคือบริษัทที่อยู่ในกลุ่มส่วนแบ่งตลาด 15 อันดับแรกนำเทคโนโลยีมาใช้น้อยกว่าแต่มีการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมมากกว่าถึงแม้จะมีจำนวนสาขา พนักงานและผู้บริหารในปริมาณที่มากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มส่วนแบ่งตลาดอื่นๆ
Abstract
Characteristics and changes in total factor productivity growth of the non-life insurance industry in Thailand after the 1997 Asian financial crisis were studied. Data envelopment analysis (DEA) was used to explore contributions of total factor productivity by applying the generalized output-oriented Malmquist index for 1998 to 2014. Panel data of 63 non-life insurance firms in Thailand was collected from annual firm reports authorized by the Insurance Premium Rating Bureau (IPRB), the Office of Insurance Commission (OIC). This study divided non-life insurance firms into the top 15 and the other market share ranking. Results were that most were relatively small and differed obviously in market share size; they concentrated intensively on one type of insurance; they were labor intensive businesses; and there was no difference in non-life insurance policies. After 1997, technological advancements due to more stringent laws and regulations led to fierce competition. On average, progress in total factor productivity growth from 1997 to 2014 was mainly due to technological advancement, but regress in technically efficient change. These findings suggest that most firms invested in technology after 1997, but lacked proper internal factor management. In 40- firms total factor productivity growths meant progress and in 23 others are regress. Empirical results were that firms with top-five progress in total factor productivity growth - Bangkok Health Insurance, Tune Insurance, New India Insurance, Phuttatham Insurance, and Road Accident Victims Protection Company - were outside the top 15 market share ranking. Total factor productivity growth, technically efficient change, and technological change of firms in the top 15 were worse than in other rankings. This suggests that technological investment of firms in the top 15 was less than other market share rankings, with larger amounts of internal factors, but lacking proper internal factor management.
Downloads
Published
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่