ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สมดุลยุคใหม่

Authors

  • พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

ทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ถึงแม้จะมีการพิสูจน์ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเทคนิคที่ซับซ้อน ไม่ต่างไปจากการทดลองพิสูจน์ของงานด้านวิทยาศาสตร์ แต่เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ยังคงเป็นสังคมของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภค การออม และวัตถุประสงค์ ที่อาจจะแปลเปลี่ยนไปไม่เป็นกฎตายตัวเหมือนเช่นกฎทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น กฎของเซย์ที่ถูก John Maynard Keynes ล้มล้างด้วยแนวคิดการบริหาร ด้านอุปสงค์ (Demand Management) เพราะเศรษฐกิจในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสอง ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้กลไกราคาช่วยClear ตลาดได้ในเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ได้เกิดปัญหาจนเกิดภาวะการว่างงานและการตกต่ำของราคาสินค้า (The Great Depression) ดังนั้นวิกฤตทางเศรษฐศาสตร์จึงเกิดขึ้นเมื่อวิชาเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเสนอแนวทางที่เป็นที่ยอมรับในการแก้ไขวิกฤตอย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วได้แปลเปลี่ยนไปจากเมื่อ 80 ปีที่แล้ว เพราะมีพื้นฐานของความเป็นอุตสาหกรรมน้อยลงแต่พึ่งพาภาคบริการเรียบร้อยละ 80 ที่สำคัญกว่านั้นก็คือได้มีการสร้างและสมทบทุนด้วยสินทรัพย์ทางการเงินรวมทั้งการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีสินทรัพย์ถาวรเกิดขึ้นอย่างมหาศาล อุปสงค์ต่อสินทรัพย์เหล่านี้ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ได้เข้ามามีบทบาทจนบดบังอุปสงค์เดิมๆ เช่นการลงทุนและการบริโภคที่เคยควบคุมได้จากการใช้นโยบายการเงิน การคลังให้เกิดเสถียรภาพและดุลยภาพ ยามเมื่อผู้ลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นหรือเห็นว่าราคาในอนาคตของสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้จะตกต่ำอย่างมาก ก็จะเกิดการพังครืนลงของระบบดังเช่นที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2008 ซึ่งผลกระทบต่อตัวแปรต่างๆทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สมดุลใหม่จะต้องสามารถให้คำตอบเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจสามารถฟื้นความสมดุลได้ดังเช่นที่ keynes เคยเสนอแนวคิดการบริหาร Aggregate Demand เมื่อ 70 ปีที่แล้ว

Published

2017-11-16