ระบบสมการอุปสงค์การนำเข้าสินค้าเกษตรไทยของประเทศจีนกรณีศึกษาสินค้าน้ำตาล ยางธรรมชาติ มันสําปะหลัง และข้าว
Keywords:
ระบบสมการอุปสงค์, Almost Ideal Demand System, การนำเข้า, สินค้าเกษตรกรรมประเทศจีนAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้นำแบบสำรอง linear almost ideal demand system (LAIDS) มาประยุกต์ใช้ศึกษาระบบสมการอุปสงค์นำเข้าสินค้าเกษตรไทยของประเทศจีน จำนวน 4 สินค้า ได้แก่ น้ำตาล ยางธรรมชาติ มันสำปะหลังและข้าว วิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลองดังกล่าวคือ Iterative Seemingly Regression (ISUR) ซึ่งข้อจำกัดด้านผลรวมเท่ากับหนึ่ง (Adding Up) ข้อจำกัดด้านเอกพันธ์ขั้นศูนย์ในราคา (Homogenous of Degree Zero in Prices) และข้อจำกัดด้านการสมมาตร (Symmetre) ถูกใส่เข้าไปในการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วย ผลการศึกษาพบว่า สินค้านำเข้าเกษตรไทยเป็น ได้ทั้งสินค้าที่ใช้ประกอบกันและสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน น้ำตาล ยางธรรมชาติ และข้าวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ในขณะที่มันสำปะหลังเป็นสินค้าจำเป็น และปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรไทยของจีนจะไม่ตอบสนองต่อราคาเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้า
คำสำคัญ:
Abstract
This research adopted linear almost ideal demand system (LAIDS) to China's import demand system for Thai agricultural products, which are sugar, rubber, cassava, and rice. The method to estimate the parameters in the model is iterative seemingly unrelated regression (ISUR), where the restrictions of adding up, homogenous of degree zero in prices, symmetry are imposed. The results show that the Thai agricultural products can be substituted or complementary products. Sugar, rubber, and rice luxury goods, while cassava is necessary goods. The China's quantity important of the Thai agricultural products does not respond to their prices changes.
Published
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่