การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อโครงการแก้มลิงทุ่งทะเลหลวง จังหวัดสุโขทัย
Keywords:
การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม, ความเต็มใจจ่าย, โครงการแก้มลิง, ทุ่งทะเลหลวง,Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อโครงการฯ 2) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจ และด้านสังคมที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อโครงการฯ 3) ศึกษาปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ จำนวน 300 ครัวเรือน โดยวิธี Contingent Valuation Method (CVM) โดยอาศัยเทคนิคแบบ Bidding Games จากนั้นทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายด้วยสมการถดถอยเชิงพหุ นอกจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาครัวเรือนที่เสียประโยชน์จากโครงการฯ จำนวน 50 ครัวเรือนซึ่งเป็นตัวอย่างอีกกลุ่มซึ่งไม่ใช่ครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่าย โดยใช้วิธีประเมินรายได้ที่สูญเสียไปผลการศึกษา พบว่า มูลค่าความเต็มใจจ่ายของครัวเรือนตัวอย่างในการศึกษา เท่ากับ 247,575 บาทต่อปี สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าความเต็มใจจ่าย ได้แก่ รายได้ของหัวหน้าครัวเรือน อาชีพของหัวหน้าครัวเรือน ระยะเวลาที่น้ำท่วม การบริจาคเงินเพื่อโครงการฯ และประสบการณ์การบริจาคเงินเพื่อโครงการอื่นๆ ส่วนครัวเรือนตัวอย่างที่เสียประโยชน์จากโครงการฯ มีข้อคิดเห็นว่าโครงการฯควรจะจ่ายชดเชยให้มากกว่ามูลค่าที่ดินปัจจุบัน รองลงมาคือ หาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่าง ต้องสูญเสียรายได้เฉลี่ยจากการเสียประโยชน์ที่ดินอันนั้นเท่ากับ 99,177 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
Abstract
This study has three objectives: first, to valuate community‘s willingness to pay for Kamling Tungtalayluang Project, Sukhothai Province; Second, to identify the factors that affect the value of community’s willingness to pay for this Project; and third to study the attitude of the community for this project. The data was collected by interviewing 300 households who get the benefit from this project and interviewing 50 households who have been affected by this project. The value of community‘s willingness to pay for this project was identified by CVM; bidding game method and its determining factors were identified by multiple regressions Analysis. On the other hand, the people have been affected from this project was identified by using market value approach based on the loss in income. The result showed that, the total value of willingness to pay for the households in our sample is 247,575 baths per year. The results of regression analysis revealed that the significant factors affecting the valuation of WTP at the project were head of household’s income and occupation, length of flooding, the donation for this project and experiences concerning donation to other projects. People who have been affected by the project would like to get greater compensation than the market value of land and help to find a new residence. The sampled household estimated to lose 99,177 bath per household per year for the opportunity cost of their land.
Published
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่