แผนการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมในระดับฟาร์ม ภายใต้ความเสี่ยง อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

Authors

  • กมลพันธ์ เกิดมั่น นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จิรวรรณ กิจชัยเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

แผนการเพาะปลูกพืชภายใต้ความเสี่ยง, แบบจำลองความเสี่ยง MOTAD

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาแผนการเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่เหมาะสมในระดับฟาร์ม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงของเกษตรกรและขนาดฟาร์มที่แตกต่างกันของเกษตรกรอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิด้านราคาและผลผลิตของพืชต่างๆ ตั้งแต่ปีการผลิต 2541-2550 และข้อมูลด้านระบบการผลิตจากการสำรวจภาคสนาม ในปีการผลิต 2548/49 โดยอาศัยแบบจำลองความเสี่ยง MOTAD (Minimization of the Total Absolute Deviation) เป็นเครื่องมือในการหาแผนการผลิตพืชอายุสั้นที่เหมาะสม ภายใต้ความเสี่ยงด้านรายได้ ผลการศึกษา พบว่า การวางแผนการผลิตโดยการใช้แบบจำลองความเสี่ยง MOTAD ให้แผนการผลิตพืชอายุสั้นที่เหมาะสมหลายแผนตามระดับ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของเกษตรกร ซึ่งส่งผลให้รายได้เหนือต้นทุนเงินสดที่คาดว่าจะได้รับมี ความแตกต่างกันด้วย เกษตรกรที่มีระดับการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ต่ำหรือเป็นผู้ชอบความเสี่ยง แนะนำให้ปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง เส้น ข้าวเจ้านาปีในฤดูฝน และแคนตาลูปในฤดูแล้ง ซึ่งจะให้รายได้เหนือต้นทุนเงินสด ที่คาดว่าจะได้รับสูงสุด ส่วนเกษตรกรที่มีระดับการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสูง ควรกระจายความเสี่ยงโดยเลือกปลูกพืชให้หลากหลายชนิดมากขึ้น และปลูกพืชฤดูแล้งที่มีความแปรปรวน ด้านรายได้ต่ำเป็นหลัก เช่น กระเทียมและแตงโม ตามลำดับ โดยขนาดของฟาร์มที่แตกต่างกัน มีผลต่อขนาดพื้นที่ปลูกพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกันและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับที่แตกต่างกันมากกว่าชนิดของพืชที่แนะนำให้ปลูก 

 

Abstract

            The main objective of this study is to develop optimal crop plans at farm level under risk of different farm sizes of farmers in Mae Chai District, Phayao Province. Time series data of prices and yields of different crops from crop year 1998-2007 were collected as secondary data. Information about crop production systems was collected in crop year 2005/06. A MOTAD ( Minimization of the Total Absolute Deviation) risk programming model is employed as an analytical tool to achieve the objective. The results of The MOTAD model show that there are several optimal crop plans depending on the level of risk averseness which lead to different levels of expected income over cash cost of farmers. Risk preferred farmers are suggested to grow crops with high rate of returns which are rice in rainy season and cantaloupe in dry season in order to get the highest expected income over cash cost. For any risk averse farmers, they are suggested to diversifying risks on various crops by growing both rice and glutinous rice in the similar proportion in rainy season and growing dry season crops with low income variances i.e. garlic and watermelon, respectively, as major crops. The difference of farm sizes have effected more on suggested production areas of each crop and expected income than types of suggested crops.

Published

2017-11-16