การวิเคราะห์ต้นทุนและรายรับของการดำเนินการผลิตผัก 5 ชนิด โดยวิธีการลดอุณหภูมิเฉียบพลัน (Pre-cooling)
Abstract
บทคัดย่อ
ระบบ Pre-cooling เป็นระบบที่ใช้ลดอุณหภูมิหรือกำจัดความร้อนแฝงในผักอย่างรวดเร็ว ก่อนเก็บรักษาและขนส่ง เพื่อชะลออัตราการคายน้ำ ยืดอายุของผลผลิต โดยที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำระบบนี้มาใช้กับการดำเนินการผลิตผักมาตั้งแต่ปี 2546 แต่ยังไม่มีการวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่ม วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ว่าการดำเนินการผลิตผัก 5 ชนิดที่ทำรายได้สูงสุดให้แก่มูลนิธิฯโดยใช้ระบบ Pre-cooling นั้นมีต้นทุนแปรผันส่วนเพิ่มและรายรับส่วนเพิ่มจากการดำเนินการผลิตผักแบบเดิมเท่าไร วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์ส่วนเพิ่ม (Incremental analysis) ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนผันแปรส่วนเพิ่มของผักที่ใช้วิธีการลดอุณหภูมิมีค่าสูงกว่าและผันแปรไปตามชนิดของผัก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ แครอท ผักกาดหางหงส์ ผักกาดหอมห่อ กะหล่ำปีและผักกาดขาวปลี ขณะเดียวกันพบว่าราคาขายผักเหล่านี้ของมูลนิธิฯ นั้นยังไม่ถูกปรับให้สะท้อนถึงต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้น
Abstract
Pre-cooling method is a way that will help to rapidly reduce temperature or get rid of heart inside vegetables before its installation and transportation. It will help to slow down the rate of vegetables loosing water and therefore will help to prolong the freshness of products. Since the year 2003, The Royal Project has used this method in its vegetables production, but still doesn’t analyze its incremental cost. The objective of this study was to analyze the incremental variable costs of 5 vegetables crops production which make highest income for the Royal Project using this pre-cooling method. Incremental analysis was used in this study. The results of the study show that the incremental variable costs of crops production by pre-cooling method were higher. The costs were also found to vary with different crops, with carrot production had highest cost followed by michilli type, head lettuce, cabbage, respectively. However, selling prices of these vegetables have not been adjusted to reflect the incremental costs of using this pre-cooling system.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่