ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเซรามิกขนาดกลาง ขนาดย่อม ในภาคเหนือตอนบน

Authors

  • อัครพงศ์ อั้นทอง นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, ธุรกิจเซรามิกขนาดกลางขนาดย่อม, แบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้นแบบ LISREL Success Factors, Small & Medium Ceramic Enterprises, LISREL model

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้พยายามจะตอบคำถามว่า “ในการดำเนินธุรกิจการผลิตเซรามิกขนาดกลาง ขนาดย่อม มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การดำเนินธุรกิจดังกล่าวประสบความสำเร็จ” ในการศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งที่เป็นข้อลูมมทุตยภูมิที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิกในภาคเหนือตอนบน และข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจำนวน 80 ราย และแรงงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานผลิตเซรามิกอีกจำนวน 791 ราย โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์โรงงานต่างๆ ครอบคลุม พื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย การวิเคราะห์ใช้แบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้นแบบ LISREL

            ผลการศึกษาพบว่า โรงงานผลิตเซรามิกในภาคเหนือตอนบนส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่ผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของชำร่วยและเครื่องประดับ สินค้าที่ผลิตมีลักษณะเคลือบขาวและเคลือบสี โดยสินค้าที่ผลิตกว่าร้อยละ 50 จะออกแบบเอง ในขณะเดียวกันสินค้ากว่าร้อยละ 30 จะถูกผลิตตามคำสั่งลูกค้า ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงทำให้ผู้ผลิตหันมาทำการตลาดเชิงรุกและพึ่งพาช่องทางการจำหน่ายหลายๆช่องทาง เช่น ขายตรงให้ผู้บริโภค พ่อค้าส่ง และผู้ส่งออก นอกจากนี้ปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเร่งด่วน ก็ยังคงเป็นปัญหาในเรื่องราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

            โรงงานผลิตของตกแต่งสวน ลูกกรงแก้ว และสุขภัณฑ์มีผลการดำเนินงานดีกว่าโรงงานประเภทอื่น ในขณะที่โรงงานผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารจะเป็นโรงงานที่มีอัตราผลตอบแทนต่ำที่สุด ในส่วนของมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจากการผลิตเซรามิกกว่าร้อยละ 54 และ 36 ของมูลค่าเพิ่มทั้งหมด เป็นมูลค่าเพิ่มในส่วนของผลตอบแทนของแรงงาน(ค่าจ้าง) และผู้ประกอบการ (กำไร) ตามลำดับ โดยโรงงานผลิตสุขภัณฑ์และขอชำร่วยและเครื่องประดับเป็นโรงงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการขายได้มากที่สุด ในขณะที่แรงงานที่ทำงานในโรงงานผลิตลูกกรงแก้ว เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของตกแต่งสวนสามารถสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าโรงงานประเภทอื่นๆ นอกจากนี้โรงงานผลิตเซรามิกในภาคเหนือตอนบนเป็นโรงงานที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระดับที่สูงมาก โดยมีดัชนีประสิทธิภาพเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 90 (เมื่อเทียบกับโรงงานที่ดีที่สุด) แต่อย่างไรก็ตามความไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากการผลิตทำให้เกิดความสูญเสียประมาณ 26-100 ล้านบาทต่อปี

            จากการวิเคราะห์แบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดกลาง ขนาดย่อม พบว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความสำเร็จของอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดกลาง ขนาดย่อมมากกว่าประสิทธิผล(หรือมุ่งแต่แสวงหากำไร) โดยมีปัจจัยทางด้านการบริหารทรัพย์กรบุคคล เช่น สวัสดิการของพนักงาน ระบบความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ปัจจัยทางด้านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น เครื่องจักรที่ทันสมัย เป็นต้น และปัจจัยทางสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลทำให้การดำเนินธุรกิจการผลิตเซรามิกขนาดกลาง ขนาดย่อมประสบความสำเร็จ หรืออาจกล่าวได้ว่าโรงงานหรือผู้ผลิตมีการจัดการในเรื่องการบริหารทรัพย์กรบุคคลที่ดี มีการลงทุนในสินค้าถาวรอย่างต่อเนื่องและมีสินทรัพย์หมุนเวียนอยู่อย่างเพียงพอ ย่อมมีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผลิตเซรามิกขนาดกลาง ขนาดย่อม

Abstract

            This study objects to answer the question “What are the success factors for small and medium enterprise in ceramic industry?” On this study’ both secondary data which involves ceramic industry situation and primary data which was interviewed with 80 entrepreneurs and 791 industrial workers by using questionnaires were collected in the province of Lumpang, Chiang Mai and Chiang Rai. LISREL Model was utilized in analysis.

            Most of products made by ceramic factory in Upper Northern Thailand were table wares, souvenirs and decorative items. These products were white ware and colors ware products. Most production was Original Design Manufacturing (ODM) and Original Equipment Manufacturing (OEM). A study also found that proactive marketing and direct marketing to consumers, the major problem which entrepreneurs require the government to solve recently was a production cost barrier from and increasing of fuel price.

            Garden ware, ceramic rails and sanitary ware factory had the highest performance among others. In the other hand, table ware factories were factories were the lowest return factories. According to value added analysis, return to labors (wage) was the major part which was 54% of total value added and return to entrepreneurs (profit) was the second part which was 36% of total value added. Sanitary ware and souvenirs factories had the highest value added sale. Labors in ceramic rail, table ware and garden ware factories had the highest value added per worker. Moreover, ceramic Factories also had very high level of production efficiency with the percentage of average production efficiency over 90% (compare to the best factory). However there were around 26-100 million bath loss caused by inefficiency of production.

            To success in running small and medium ceramic enterprises, entrepreneurs should take most concentration on business administration. Considering content of empirical data found that to success in small and medium ceramic enterprises, entrepreneurs have to concentrate on operation efficiency rather than profitability. Moreover entrepreneurs have to concentrate on Human Resource Management (HRM) such as employee welfare, employees’ security system and investment on capital assets (fixed assets) such as machines, land as well as sufficient current assets holding than other factors.

Downloads