ผลกระทบจากการสร้างทางหลวงจากจีนตอนใต้ผ่านลาวมาสู่ชายแดนไทย (R3A) ต่อการค้าชายแดนและการลงทุนในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและ สปป.ลาว

Authors

  • วีนัส ฤาชัย รองศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กันต์สินี กันทะวงศ์วาร อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชนิตา พันธุ์มณี อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธัญวดี สุจริตธรรม นักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • บุญตา หลวงวิชา เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ

Abstract

บทคัดย่อ

            การก่อสร้างเส้นทาง R3A ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างจีน(ตอนใต้)ผ่านภาคเหนือของส.ป.ป.ลาวมายังประเทศไทยเป็นการสร้างร่วมกันระหว่างรัฐบาล 3 ประเทศ คือ สปป.ลาว สป.จีน และประเทศไทย เมื่อเส้นทางนี้เสร็จการขนส่งสินค้าทั้งขาขึ้นและขาล่องจากทางภาคใต้ของจีน(ตอนใต้) ผ่านภาคเหนือของส.ป.ป.ลาว มายังประเทศไทยซึ่งแต่เดิมใช้ทางเรือตามลำน้ำโขงเป็นหลักและใช้การได้ดีกรณีปริมาณน้ำมีมากก็จะมีทางเลือกเพิ่มขึ้นวัถตุประสงค์การศึกษาคือ (1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงราย น่าน และพะเยา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่ติดต่อกับชายแดนลาวต่อการสร้างทางจากจีนตอนใต้ (เส้นทาง R3A) รวมถึงยุทธการของ ส.ป.ป.ลาว (2) เพื่อศึกษาถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยหน่วยงานของรัฐและเอกชน ในจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยาและภาคเหนือของ ส.ป.ป.ลาว และ (3) เพื่อศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการค้าและการลงทุนในภาคจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา และภาคเหนือของ ส.ป.ป.ลาว เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้กระทำขณะที่เส้นทาง R3A อยู่ระหว่างการก่อสร้างดังนั้นการศึกษาผลกระทบของการสร้างเส้นทาง R3A จึงกระทำโดยการสำรวจเอกสารและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (โดยไม่มีแบบสอบถาม)

ผลการศึกษาพบว่าขณะที่ทางด้านประเทศไทยนั้นมียุทธศาสตร์เน้นการผลิตโครงสร้างพื้นฐาน การจัดระเบียบการใช้ที่ดินและการจัดวางผังเมือง ทางด้าน สปป.ลาว มียุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาเขตภาคเหนือให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการค้า และการลงทุนเพื่อส่งเสริมให้การลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในภาคเหนือมากขึ้น ส่วนความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นั้นพบว่าถนนหนทางในส่วนของฝั่งไทยนั้นมีเส้นทางค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว ส่วนการสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ส่วนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและการสร้างสะพานเชื่อม ต่อกับเส้นทาง R3A จากลาวผ่านเมืองไทยนั้นยังอยู่ในช่วงการศึกษาสำรวจและออกแบบ

ในส่วนความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว พบว่าสปป.ลาวได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยเฉพาะด้านคมนาคมขนส่ง ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นทาง R3A ใช้งานได้แล้วนั้นทางด้านการค้าผู้ส่งออกไทยมีทางเลือกมากขึ้นในการขนส่งสินค้าไปยังตอนใต้ของประเทศจีนและผลกระทบทางด้านการลงทุนนั้นเป็นการสร้างฐานการผลิตใหม่

การลงทุนในที่ดินเพื่อการท่องเที่ยว ทางด้านโกดังเก็บสินค้าส่วนผลกระทบทางด้าน สปป.ลาว ทางด้านการค้าคาดว่าส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาทำการค้าและนำสินค้าจากจีนมาจำหน่ายมากขึ้นและคาดว่านักลงทุนทั้งภายในและภายนอกมาลงทุนมากขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ทางด้านการลงทุน

Abstract

            Construction of the R3A highway connecting the southern part of China and Thailand and passing through Northern Lao People’s Democratic Republic (PDR) is a joint development project of the governments of the three countries. Once the highway is completed, this North-South corridor will be an alternative means and route to the existing principal mode of shipping goods between trading partners using Maekong River which is quite efficient at high water level. This study’s objectives are (1) to examine the strategies designed by governments and private agencies in Chiang Rai, Nan, and Phayao Provinces particularly those located in the Thai-Lao border area as well as the strategies of the Lao PDR counterparts to deal with or take advantage of this infrastructural development; (2) to monitor the progress of the highway construction and other developments; and (3) to study the likely impact of the R3A highway on the trade and investment of the border areas in Chiang Rai, Nan, and Phayao as well as Northern Lao PDR. This study was conducted when the R3A was still under construction; therefore, the impact study had to rely on documentary surveys and interviews with pertinent officers or individuals (without questionnaires). The study found that the Thai side had strategies oriented toward further infrastructural development, land use, and city planning while the Lao PDR side intended to develop its northern region into industrial, commercial, and investment hubs as well as to encourage greater domestic and international investment activities in this region. Investigation on the development progress found that the highway construction in the Thai portion was nearly complete while the building of the second Chiang Saen port, the Industrial Estate and the bridge linking Thai-Lao R3A remained in the study, survey, and planning stages. The Lao PDR appeared to be starting the development of necessary infrastructure to facilitate communication and transportation. The impact study indicates that once the R3A is completed and in service Thai exporters will have more alternative for shipping their goods to Southern China; and there will be new investment projects in manufacturing, in land for tourism purpose, and in storage/cargo facilities.

            Lao PDR is likely to see more Chinese traders bring greater amounts of goods to sell in the country; it also expects to see more investors both local and foreign invest more in Laos’ agricultural and industrial sectors.

Downloads