ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สมดุลยุคใหม่
Abstract
ทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ถึงแม้จะมีการพิสูจน์ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเทคนิคที่ซับซ้อน ไม่ต่างไปจากการทดลองพิสูจน์ของงานด้านวิทยาศาสตร์ แต่เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ยังคงเป็นสังคมของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภค การออม และวัตถุประสงค์ ที่อาจจะแปลเปลี่ยนไปไม่เป็นกฎตายตัวเหมือนเช่นกฎทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น กฎของเซย์ที่ถูก John Maynard Keynes ล้มล้างด้วยแนวคิดการบริหาร ด้านอุปสงค์ (Demand Management) เพราะเศรษฐกิจในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสอง ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้กลไกราคาช่วยClear ตลาดได้ในเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ได้เกิดปัญหาจนเกิดภาวะการว่างงานและการตกต่ำของราคาสินค้า (The Great Depression) ดังนั้นวิกฤตทางเศรษฐศาสตร์จึงเกิดขึ้นเมื่อวิชาเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเสนอแนวทางที่เป็นที่ยอมรับในการแก้ไขวิกฤตอย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วได้แปลเปลี่ยนไปจากเมื่อ 80 ปีที่แล้ว เพราะมีพื้นฐานของความเป็นอุตสาหกรรมน้อยลงแต่พึ่งพาภาคบริการเรียบร้อยละ 80 ที่สำคัญกว่านั้นก็คือได้มีการสร้างและสมทบทุนด้วยสินทรัพย์ทางการเงินรวมทั้งการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีสินทรัพย์ถาวรเกิดขึ้นอย่างมหาศาล อุปสงค์ต่อสินทรัพย์เหล่านี้ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ได้เข้ามามีบทบาทจนบดบังอุปสงค์เดิมๆ เช่นการลงทุนและการบริโภคที่เคยควบคุมได้จากการใช้นโยบายการเงิน การคลังให้เกิดเสถียรภาพและดุลยภาพ ยามเมื่อผู้ลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นหรือเห็นว่าราคาในอนาคตของสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้จะตกต่ำอย่างมาก ก็จะเกิดการพังครืนลงของระบบดังเช่นที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2008 ซึ่งผลกระทบต่อตัวแปรต่างๆทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สมดุลใหม่จะต้องสามารถให้คำตอบเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจสามารถฟื้นความสมดุลได้ดังเช่นที่ keynes เคยเสนอแนวคิดการบริหาร Aggregate Demand เมื่อ 70 ปีที่แล้วDownloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่