ต้นทุนของการเจ็บป่วยโรคหอบหืดในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

Authors

  • สุวรัตน์ ยิบมันตะสิริ รองศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการประเมินต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดของผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิเกิดจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคหอบหืดจำนวน 201 ราย เป็นผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จำนวน 162 ราย และโรงพยาบาลจังหวัดลำพูนจำนวน 39 ราย ผู้ป่วยในจังหวัดลำพูนเป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่ทั้งหมด ในขณะที่ผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่างเชียงใหม่เป็นผู้ป่วยเด็ก 32 ราย โดยเก็บข้อมูลต้นทุนการเจ็บป่วยทุก 3 เดือนในช่วงสิงหาคม 2548 ถึงสิงหาคม 2549 ต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดนี้ประเมินเฉพาะต้นทุนทางตรงของการเจ็บป่วยเท่านั้น ได้แก่ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าเดินทางไปกลับบ้านและโรงพยาบาล และรายได้ที่ต้องเสียไปเนื่องจากการขาดงานจากการเจ็บป่วย ในการคำนวณค่ายานั้นใช้บัญชีค่ายาของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ปี 2548

ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 14,969.40 บาท/คน/ปี ผู้ป่วยเด็กในกลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนในการรักษาพยาบาลเท่ากับ 8009.37 บาท/คน/ปี เมื่อเทียบกับต้นทุนการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือ 16,287.27 บาท/คน/ปี กลุ่มตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่มีต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดเท่ากับ 16,757.39 บาท/คน/ปี สูงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างในจังหวัดลำพูนที่มีต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกันคือ 7,542.35 บาท/คน/ปี ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มตัวอย่างเชียงใหม่รับการรักษาโรคหอบหืดกับสถานบริการสุขภาพพิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีค่าบริการสูงกว่าและใช้ยาที่มีราคาแพงกว่ามากด้วย การศึกษานี้ยังพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่างมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลทั่วไปของครัวเรือนในภาคเหนือด้วย

 

Abstract

            The main objective of this study is to estimate costs of illness of asthma patients in Lamphun and Chiang Mai provinces. Primary data were obtained from a sample of 201 patients who had been receiving treatments for asthma, 39 of which from Lumphun Provincial Hospital and 162 from Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. All patients in Lumphun Provincial Hospital and 162 from Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. All patients in Lumphun wre adults while 32 of 162 Chiang Mai patients were young children. Data were collected every three months between August 2005 to August 2006. Only direct costs associated with illness from asthma were estimated. These included medical expenditures, travel costs to and from hospitals, and income loss due to work absence from illness. Medical expenditures were calculated using Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital medical price list of year 2005.Costs of illness were estimated to be 14,969.40 Baht per person per year for the whole sample. Young patients had lower costs of illness than adult patients, i.e. 8,009.37 Baht as against 16,287.27 Baht per person per year. The Chiang Mai group of patients had much higher costs of illness than the patients in Lumphun group. This could be explained by the fact that most adult patients in Chiang Mai received treatments from the Special Medical Service Center of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital with much higher service charges and much more expensive drugs used in asthma treatments. The results also show that households with members afflicted with asthma had higher medical burden in financial terms than average household in the North.

Downloads