การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อการบริหารกรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Authors

  • ไพรัช กาญจนการุณ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อการบริหารของผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง ผลิตภัณฑ์น้ำมันงาและผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งนี้พบว่า การผลิตดังกล่าวมีการพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และมีการดัดแปลงภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน การผลิตเกือบทั้งหมดใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นของตนเป็นหลัก เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิม ยกเว้นกลุ่มผลิตน้ำมันงาที่มีการดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ด้านแรงงานที่ใช้ในการผลิตทั้งหมดใช้แรงงานสมาชิกภายในกลุ่มเท่านั้น ไม่มีการสร้างรายงานจากภายนอก ศักยภาพทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ทั้งสามมีความแตกต่างกัน และมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาด้านการตลาดและปัญหาการขาดแคลนเทคโนโลยีที่เหมาะสม

Abstract

The study result of skills and resources mapping of Karen’s hand-woven textile and sesame oil products, and bamboo basketwork in Mae Hong Son province found that their production process developed from local wisdom, which was handed down from ancestors and then modified by local know-how to fit the current circumstances. Most of the production used local or neighboring raw materials. The main technology utilized in the production process was classical; except for the sesame oil products, in which the technology was appropriately adjusted to their functions. None of the production processes employed labor by out-sourcing. In addition, the market potential differed substantially among these products and groups. The major problems found were lack of capital funds, a narrowing market and lack of appropriate technology.

Downloads